ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

Factors Affecting the Engagement of Municipality Employees in Muang District Chonburi Province

Authors

  • ปีราติ พันธ์จบสิงห์
  • ธีระชินภัทร รามเดชะ

Keywords:

ลักษณะองค์กร, ความผูกพัน, พนักงานเทศบาล, จังหวัดชลบุรี

Abstract

จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านลักษณะขององค์กรและปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนได้จำนวน 285 คน สถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที่การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณสามารถสรุปได้ดังนี้  ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านลักษณะงานโดยรวมพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุดและค้นพบว่าปัจจัยด้านลักษณะองค์การโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากและกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในงานของบุคลากรโดยรวมมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 อยู่ในระดับมากและพบว่าความผูกพันของบุคลากรของบุคลากรที่มีต่อองค์กรโดยรวมมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  และผลการทดสอบสมมติฐานที่พบปัจจัยด้านเพศอายุตาแหน่งสถานที่ทำงานสถานภาพต่างกันไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีและปัจจัยด้านระดับการศึกษาแผนกรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (R= .156) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านความท้าทายของงานและด้านที่ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยรวมได้แก่ ด้านความอิสระในการทำงาน ด้านโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านความหลากหลายของงาน ตาม ลำดับ ส่วนผลการทดสอบปัจจัยด้านลักษณะขององค์กร มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (R= .013) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และผลการทดสอบปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (R= .032) มีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านนโยบายองค์กรและด้านที่ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี โดยรวมได้แก่ ด้านคุณสมบัติของบุคคล ด้านลักษณะงาน ตามลำดับ  The study of factors affecting the engagement of municipality employees in Muang District Chonburi province. The objective was to study the factors of personal characteristics.  job characteristics factor Factors of organizational characteristics and factors of job satisfaction affecting the engagement of municipal employees in Muang District Chonburi It is a quantitative research. The population in this research was municipal employees in Muang District. Chonburi Proportional sampling technique of 285 people. Statistics using descriptive statistics. And the statistics that multiple regression analysis can be summarized as follows:  The results of the study revealed that the overall job characteristics factor It was found that the average score was 4.29, which was the highest level, and it was found that the overall organizational factor had an average score of 3.63, which was a high level. And the sample group was satisfied with the work of the personnel as a whole. with a mean score of 3.94 at a high level and found that the engagement of the personnel of the personnel towards the organization as a whole with a mean score of 4.32 with the highest level of opinion and the test results of the hypothesis found Factors of gender, age, position, workplace, and different status had no influence on the commitment of municipal employees in Muang District.  Chonburi and factors of education level, department, monthly income differently influenced the engagement of municipal staff in Muang district. Chon Buri Province had statistical significance of 0.05. The job characteristics factor had an influence on the engagement of the municipal staff in Muang District. Chonburi Province overall was at a low level (= .156). When considering each aspect, it was found that there were 1 aspect, namely the challenge of the job. and the aspect that had no influence on the engagement of the municipal staff in Muang District, Chonburi Province as a whole including the freedom to work Opportunities to interact with others The diversity of jobs, respectively. As for the test results of organizational characteristics factors Influence on the commitment of municipal employees in Muang District Chonburi Province overall was at a low level (= .013). Considering each aspect, it was found that there was no influence on the commitment of municipal employees in Muang District. Chonburi and the results of the satisfaction factor test on the performance influenced the engagement of the municipal staff in Muang district. Chonburi Province overall was at a low level (= .032) with the number of 1 aspect, namely, organizational policy. and the aspect that had no influence on the engagement of the municipal staff in Muang District, Chonburi Province as a whole was the aspect of the person's qualifications. The nature of the work, respectively.

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989).

กุลธนิดา ผลเวช. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน สถาบันไทย-เยอรมัน. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุมพล หนิมพานิช. (2561). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. งานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญเลิศ จันทร์โท. (2555). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จำกัด. กรุงเทพฯ: จังหวัดชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญจวรรณ พัชรพงศ์พรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัท บางกอกเอ็น. เตอร์เทนเม้นต์จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ปาริชาติ บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทไดกิ้นอินดัสทรีส์ประเทศไทย (จำกัด). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประมินทร์ เนาวกาญจน์. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเทศบาลนครยะลา. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พนิดา จิระสถิตถาวร. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนิดา อร่ามจรัส. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในกลุ่มบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิชชาภา พนาสถิตย์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันในองค์การของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุจรินท์ บุรีนอก. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษา อู ซู อิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2561). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร.

สุวรรณี โกเมศ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภณ ดวงอินทร์. (2555). การจัดการความรู้แห่งโลกธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วรรณิภา นิลวรรณ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิชิต อูอ้น. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly. 19, 533-546.

Bryman, A., Bell, E. (2011). Business Research Methods (3 edition). UK: Oxford University Press.

Glisson, C., & Durick, M. (1988). Predictors of Job Satisfaction and Organisational Commitment in Human Service Organizations. Administrative Science Quarterly, 33, 61-68.

Greenberg, J., Baron, & R.A. (1993). Behavior in Organization: Understanding and Managing the Human Side of Work (4th ed.). Boston: Allyn & Baron.

Hrebiniak, L. G., & Alutto, J. K. (1974). Personal and role-related factors in the development of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 17(12), 555-573.

Morris, J., & Sherman, J. D. (1981). Generalizability of an organizational commitment model. Academy of Management Journal, 24, 512-526.

Organ, D. W., & Bateman, T. S. (1991). Organizational Behavior. United States of America: Richard D. Irwin.

Peters, D. J., Eathington, L., & Swenson, D. (2012). An Exploration of Green Job Policies, Theoretical Underpinnings, Measurement Ap-proaches, and Job Growth Expectations. Ames, ia: Iowa State University.

Steers, R. M. (1973). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

Downloads

Published

2022-10-30