การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ

Applying the Sufficiency Economy Philosophy In Business

Authors

  • ปาริชาติ คุณปลื้ม

Keywords:

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การทำธุรกิจ, ธุรกิจ

Abstract

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการทำธุรกิจสรุปเป็นหลักการในการนำไปประยุกต์ใช้ในแต่ละด้านได้ดังนี้ 1) การนำหลักพอประมาณมาประยุกต์ใช้ก่อนจะทำธุรกิจควรวิเคราะห์ตัวเองว่ามีความรู้ความชำนาญมีประสบการณ์เรื่องที่จะทำธุรกิจวิเคราะห์เงินทุนในการทำธุรกิจว่ามีเพียงพอเมื่อทำธุรกิจก็ต้องมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเมื่อต้องขยายธุรกิจก็ต้องขยายอย่างระมัดระวังโดยใช้เงินกำไรสะสมและเงินกู้บางส่วนไม่กู้เงินเกินความสามารถในการจ่ายของบริษัท 2) การนำหลักความมีเหตุผลมาประยุกต์ใช้ก่อนการนำธุรกิจต้องค้นหาสาเหตุของการลงทุนอย่างมีเหตุผลมีการจัดทำแผนธุรกิจกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเมื่อเริ่มทำธุรกิจต้องสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้ามาร่วมธุรกิจต้องตรงตามความเหมาะสมของงานโดยสมเหตุสมผล ผลิตสินค้าเน้นคุณภาพและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและต้องมีมาตรฐานรับรองคุณภาพเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับลูกค้า 3) การนำหลักภูมิคุ้มกันเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาการทำธุรกิจควรมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้และต้องมีแผนสำรองหรือแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดวิกฤตในการทำธุรกิจจัดให้มีระบบที่ช่วยในการตรวจสอบการทำงานทั้งภายในและภายนอกเพื่อป้องกันการรั่วไหลที่เกิดจากการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในองค์การ 4) การนำเงื่อนไขความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจต้องมีการศึกษาธุรกิจอย่างถ่องแท้จนถึงขั้นประยุกต์ใช้ได้มีความรู้ในการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและบริการรู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าและบริการอะไรต้องมีองค์ความรู้ที่หลากหลายมากกว่าอาชีพที่ทำและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้อย่างต่อเนื่องและ 5) การนำเงื่อนไขคุณธรรมที่นามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจควรทาตามกฎระเบียบของสังคมและกฎหมายต้องสร้างวัฒนธรรมองค์การให้พนักงานมีคุณธรรมเห็นแก่ส่วนรวมเป็นสำคัญและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  Application of the Sufficiency Economy Philosophy in business concluded as follows: 1) Moderation with reason, in the sense of not too much or not too little, should be taken into consideration before a new business is launched. That is, the new entrepreneurs should assess themselves if they are knowledgeable and skillful enough in that field and if their investment fund is adequately prepared. It’s imperative that the resources best benefit the business. If the business needs to expanded, the expansion must be done carefully by relying on some   accumulated earnings and loans. 2) Reasonableness must be considered. Before running a new business, the new entrepreneurs should have sufficient reasons why the business should be launched. The business plan must have clear objectives. The selected employees must be well qualified for the work. The products must be manufactured with high quality and the service must meet the customers’ needs. Their quality assurance must be obtained in order to win the customers’ trust. 3) Self-immunity principles should be applied so as to prepare for certain risks and various changes. Flexibility is important in business running. Business people should be able to adjust to unexpected changes and must have a second or emergency plan to prepare for any criticality. The organization must employ a dependable internal and external check system in order to prevent any leaks for all work functions. 4) Knowledge is a necessary condition for Sufficiency Economy to work. Comprehensive knowledge is very important at every stage of business planning and implementation. Business people must be knowledgeable about the investment to develop products and services and understand the customer’s needs. They must also be literate in other fields and be a lifelong learner and 5) Last but not least, ethics and virtues principle must be used. Business implementation should follow the society’s core value and must be run legally. The employees must be trained to live up to their corporate culture in order to make them realize the common interests and environmental awareness.

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. วันที่ค้นข้อมูล 23 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://plan.bru.ac.th

กุณฑลี รื่นรมย์. (2556). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในนโยบายและแผนการตลาดของวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (SMEs). จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(135), 49-79.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 23 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SUT.res.2014.2

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). รายงานสถิติผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส. วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/ event_corona

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2564. วันที่ค้นข้อมูล 24 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จากhttps://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n4764.aspx.

นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2552). ผู้นำธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 147-162.

ประภาพรรณ ไชยานนท์. (2553). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจรายย่อยและวิสาหกิจขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(1), 53-81.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2563). การปรับตัวของธุรกิจหลังยุค COVID -19. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 99-110.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). เศรษฐกิจพอเพียง. วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/ item/3579-2010-10-08-05-24-39.html.

สมพร ปานยินดี และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2562). การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(1), 1-16.

สารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2552). เศรษฐกิจพอเพียง. วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.hii.or.th/wiki84/index.php?title

สุชีรา ธนาวุฒิ. (2559). การศึกษาขั้นตอน รูปแบบ วิธีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติจริงในการพัฒนาธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55870005.pdf

สุเทพ ศรีบุญเพ็ง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจของร้านชัยเจริญเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1377-1392.

อาชว์ เตาลานนท์. (2554). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคธุรกิจเอกชน. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/pdf.

Downloads

Published

2022-10-30