แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในทัศนะของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Guidelines for Sustainable Eco -Tourism Management Approaches in Perspectives of Entrepreneurs on Samed Island, Amphoe Mueang, Rayong

Authors

  • ปรีดา ศรีเมฆ
  • จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
  • ณรงค์ พรมสืบ

Keywords:

การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน, แหล่งท่องเที่ยวประเภทเกาะ, เกาะเสม็ด, ผู้ประกอบการ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จำนวน 138 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน  ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์ การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดว่า มีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.28 ส่วนแนวทางการจดัการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความเห็นต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนว่า มีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.81  The purposes of this study were to examine the opinions of entrepreneurs toward situations of sustainable eco-tourism on Samed Island and to investigate their opinions on the guidelines for sustainable eco-tourism management of Samed Island.  The Sampling in this study comprised 138 entrepreneurs, running business on Samed Island. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistics used for the data analysis were percentage, mean and standard deviation.  The results of the study revealed that the subjects rated their opinions at the highest mean 4.28 for the statement that the tourism of Samed Island was likely to be a sustainable eco - tourism. Regarding the guidelines for sustainable eco -tourism management of Samed Island, it was shown that It is most suitable for Samed Island with an average of 4.81.

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ปี 2559. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2555, เข้าถึงได้จาก ewt_dl_link.php (mots.go.th)

ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ วิภาวรรณ ตินนังวัฒนะ และประเสริฐ ทองหนูนุ้ย. (2558).ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนชายฝั่งจังหวัดตรัง. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 36(1),60–73.

ปิยะนุช พรประสิทธิ์ และสุธินี ฤกษ์ขำ. (2558). เครื่องมือการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการดำเนินงานเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(1), 123–144.

แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ. (2560). กรอบนโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการพัฒนาการท่องเที่ยวนานาชาติ, 13(1), 133–158.

พิทยะ ศรีวัฒนสาร. (2554). หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2555, เข้าถึงได้จาก http://siamprotuguesestudy.blogspot.com/2010/07/1.html

ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจดัการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91–101.

มาศศุภา นิ่มบุญจาช. (2558). การศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวและการมีส่วนรวมของชุมชนที่มีผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขาสันหนอกวัว (อุทยานแห่งชาติเขาแหลม). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมฐติญา วงษ์ภักดี. (2559). สศช. ผลักดันการพัฒนาเกาะทั่วประเทศอย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเป็น "เกาะท่องเที่ยวที่มีชีวิตแห่งเอเชีย". วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2555, เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th/mobile_detail.php?cid=7&nid=5872

เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2555). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน แนวคิดหลักการและการจัดการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมถวิล จันทร์พราหมณ์. (2558). รายงานการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพ สมัยประชุมสามัญสมัยที่ 2 ประจำปี 2558 ครั้งที่ 1/2558. ระยอง: องค์การบริหารส่วนตำบลเพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปรายงานการศึกษาโครงการสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทเกาะทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพของประเทศ. เข้าถึงได้จาก ww.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6140&filename=index

อรพินทร์ ชูชม. (2545). เอกสารคำสอนวิชา วป 502 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Zeppel, H. D. (2006). Indigenous ecotourism sustainable development and management. United Kingdom: Cromwell Press, Trowbridge.

Downloads

Published

2022-10-30