ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และสันติวัฒนธรรมของสำนักงานยุตธิรรมจังหวัดนำร่อง กระทรวงยุตธิรรม
Knowledge and Understanding of People on the Role of Community Justice Center to Strengthen Reconciliation and Peaceful Culture for Provincial Justice Offices’ Pilot, the Ministry of Justice
Keywords:
ยุติธรรมชุมชน, สมานฉันท์, สันติวัฒนธรรมAbstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง 2) เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้สถิติ LSD ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนมีระดับความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดและอาชญากรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นอกจากนี้ ประชาชนที่เป็นเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่เป็นเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่มีเพศและอาชีพต่างกันไม่พบความแตกต่างกัน The objectives of this research aim to study 1) determining the level of knowledge and understanding of people on the role of the Community Justice Center in the Pilot Project of the Provincial Office of Justice in Restorative Justice and Peace Culture. 2) Comparing the level of public understanding of the role of the Community Justice Center in the Pilot Project of the Provincial Office of Justice in Restorative Justice and Peace Culture by using questionnaires on 400 samples. The data was analyzed by means of statistic tools such as the frequency, percentage and standard deviation. The hypothesis was tested by using the statistical T-test and F-test. LSD was used for analyzing paired difference. The results founded that the level of public understanding on the role of the Community Justice Center in the Pilot Project of the Provincial Office of Justice in Restorative Justice and Peace Culture was overall high. When looking at each aspect individually, the average level of support for victims suffering from or affected by crime was the highest, and Mediation and Reconciliation was lowest. Civil society who is a member of the Community Justice Center with different age and educational level, will have different level of public understanding towards the role of the Community Justice Center in the Pilot Project of the Provincial Office of Justice in Restorative Justice and Peace Culture at the statistical rate of 0.05. Meanwhile, civil society with different gender and occupation will have no difference in public understanding towards the role of the Community Justice Center in the Pilot Project of the Provincial Office of Justice in Restorative Justice and Peace Culture.References
กระทรวงยุติธรรม. (2550). ยุติธรรมชุมชน รวมงานวิจัย บทความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
กระทรวงยุติธรรม. (2553). สำนักงานยุติธรรมจังหวัดกับกฎหมายสามัญประจำบ้าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
กระทรวงยุติธรรม. (2555, 30 มีนาคม). การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องเพิ่มเติม จำนวน 5 แห่งเป็นหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 159/2555.
กระทรวงยุติธรรม. (2559, 24 พฤศจิกายน). การบริหารงานสำนักงานยุติธรรมจังหวัด และสำนักงานยุติธรรม จังหวัดสาขา. คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 569/2559.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน. วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop
ชไมพร คชวงษ์. (2552). ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี
นิรมล ธารงราชนิติ (2553). ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของพนักงานอัยการในการคุ้มครอง สิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บรรพต สีมาปทุม. (2554). ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานยุติธรรม จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานยุติธรรมจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
สุวีรัตน์ ชัยวิชิต. (2555). การติดตามและประเมินผลสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
สุทธิลักษณ์ นามมุงคุณ. (2559). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทตามอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2552). การประเมินผลสำนักงานยุติธรรมจังหวัด พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2552). การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัด นวัตกรรมในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวงยุติธรรม. วันที่ค้นข้อมูล 23 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.km.moj.go.th/info/html/d18fa9fb3f58d39fb7d862b3e344f892.html
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2560). ยุติธรรมจังหวัดนำร่อง. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2557). รายงานประจำปี สำนักงานคณะกรรมการการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทและยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างสมานฉันท์แห่งชาติ (พ.ศ. 2563 -2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติกระทรวงยุติธรรม.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความสมานฉันท์ภายใต้บริบทความขัดแย้งของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติกระทรวงยุติธรรม และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
อัจฉราพร ปะทิ. (2559). ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง: กรณีศึกษาประชาชนในตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.