การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

People Participation Development in Riverbank Protection Structures Along Noi River of Department of Public Works and Town & Country Planning, Phra Nakhon Si Ayutthata Province

Authors

  • ยศวัฒน์ กิจมานะวัฒน์
  • ปิยากร หวังมหาพร

Keywords:

การพัฒนา, การมีส่วนร่วม, เขื่อนป้องกันตลิ่ง, Development, Participation, Riverbank protection structures

Abstract

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาของการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชนและ 4) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมืองเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยางานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในตำบลน้ำเต้า ตำบลทางช้าง ตำบลวัดตะกู ตำบลบางหลวง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 1)ตัวแทนหน่วยงานราชการ จำนวน 6 คน และ 2) ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 10 คนรวมทั้งสิ้น 16 คนโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยมีด้านการร่วมรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการริเริ่มโครงการด้านการวางแผนด้านการปฏิบัติงานด้านการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขด้านการค้นหาสาเหตุของปัญหาและด้านการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ปัจจัยการตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชนปัจจัยความเดือดร้อนและความไม่พอใจร่วมกันปัจจัยความตระหนักปัจจัยความเกรงใจต่อบุคคลที่เคารพหรือผู้นำปัจจัยความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานปัจจัยความรู้สึกภาคภูมิใจปัจจัยการรับรู้ข่าวสารปัจจัยความสนใจและห่วงกังวลร่วมกันปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทนและปัจจัยทรัพยากรของหน่วยงานและยังพบว่า 3) ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ด้านทรัพยากรและด้านส่วนบุคคล และ 4) แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนประกอบด้วยการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์วิดีทัศน์ความยาวสั้นเกี่ยวกับข้อมูลหรือเกร็ดความรู้รูปแบบภาพเคลื่อนไหวการจัดตั้งโครงการอาสาสมัครคนรุ่นใหม่พิทักษ์ตลิ่งการจัดทำช่องทางการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์และการจัดทำคู่มือตรวจสอบตลิ่งริมแม่น้ำฉบับประชาชน  This research of People’s Participation in the Development of Riverbank Protection Structures Along the Noi River of the Department of Public Works and Town & Country Planning in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province aimed to 1) study people’s participation level2)  study  the factors affecting people’s participation 3) study the obstacles in people’s participation and 4) study developing approach in people’s participation of riverbank protection structures along the Noi river of the Department of Department of Public Works and Town & Country Planning in Phra  Nakhon Si  Ayutthaya  province. The data of this research were collected by mixed method. Samples of the quantitative research were household representatives in Namtao sub district, Tangchang subdistrict, Wattako subdistrict and Bangluang subdistrict in Bangban district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province, totally 327 samples. The data was collected by questionnaire. The data were analyzed with the statistical method by using; Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation and Multiple Linear Regression Analysis. Key informants of the Qualitative research were 6 people from public sector and 10 people from people sector, totally 16 people. The data was collected through in-depth interview method and the data were analyzed by content analysis. The research finding were; People’s participation level, in overall, was found in medium level. After the analysis, it can be arranged by order with mean value from the highest to the lowest as; Participation in benefits, Participation in initiatives, Participation in planning, Participation in operations, Participation in decision makings, Participation in cause findings and Participation in Evaluations. The degree of factor affecting people’s participation, in overall, was found in medium level. After the analysis, it can be arranged by order with mean value from the highest to the lowest as; Agreement for the community factor, Trouble and mutual dissatisfaction factor, Awareness factor, Respect for a leader factor, Confidence in public sector factor, Pride factor, Public information factor, Attention and anxiety factor, Benefit factor and Public sector resources factor. Main issues of obstacles that found; 1) Public relations aspect 2) Public sector resources aspect and 3) Personal aspect. Developing approach in people’s participation which were comprised with 4 activity projects; 1) Production of short-length videos about knowledge of riverbank protection structures and publish in social medias channels, 2) Establishment of riverbank protection volunteer project, 3) Making a official account of LINE application for announcement and notify about people’s participation activities and 4) Making a simplified version of riverbank erosion assessment manual.

References

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย มหิดล.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิคดีไซน์และการพิมพ์จำกัด

ปัณณพัฒน์ ฤทธิ์เรืองเดช, จำลอง โพธิ์บุญ และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคม ศาสตร์, 7(1), 85.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

พัทยา สายหู. (2529). กลไกของสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรวิพัฒน์ ศิลปารัตน์. (2561). ตัวแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 225-243.

สถาบันพระปกเกล้า. (2544). เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุกันยา บัวลาด. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2559). คู่มือวิทยากร หลักสูตรการฝึกอบรม เสริมสร้างความรู้การออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559. เอกสารประกอบการเลือกตั้ง: จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในพื้นที่จังหวัดภาค เหนือ. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://pr.prd.go.th/org

อนุภาพ ถิรลาภ. (2528). การวิเคราะห์เชิงสมมติฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารรัฐกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล. (2550). คู่มือพลเมืองยุคใหม่(พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arnstein, S.R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), 216-224.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evolution Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Longman.

Cronbach, J.L. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept, Theory and Implementation. S.L.: Atlanta State University.

Harry, H.P., Blair, L., Fisk, D., Hall, J., & Schaenman, P. (1992). How effective is your Community Service? (2nded.). Washington, D.C.: Urban Institute and International City Management Association.

Kenneth, M., Stewart, J., & England, R. (1989). Race, Class, and Education. Madison: University of Wisconsin.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Koufman, H. F. (1949). Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities. Agricultural Experiment Station Bulletins, 4(2),5-50.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Harper & Row.

Minn, Z, Srisontisuk, S., & Laohasiriwong, W. (2010). Promoting People’s Participation in Solid Waste Management in Myanmar. Research Journal of Environmental Sciences, 4,209-222.

Orfield, G. (1988). Gender, Income and Career Inequality Political Participation. Orlando: Harcourt, Brace & Jovanovich.

Scavo, A., & Chris, S. (2016). Media Action’s Governance Programs and Political Participation. Massachusetts: Addison-Wesley.

Downloads

Published

2022-10-30