ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดสำนักงานคณบดี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Factors Relating Service Quality of Academic Supporting Staff, Dean Office, Faculty of Political Science and Law, Burapha University

Authors

  • นุชจรินทร์ วรรณพงษ์

Keywords:

สำนักงานคณบดี, คุณภาพการให้บริการ, พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, Service quality, Academic supporting staff, Faculty of Political Science and Law, Burapha University

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ  2. เพื่อประเมินคุณภาพการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการให้บริการกับคุณภาพการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการประชากรในการวิจัยคือ บุคลากรและนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 485 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการศึกษาพบว่า 1. การให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมากการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ด้านบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านระบบการบริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านระยะเวลา และด้านความสะดวกในการบริการ 2. โดยรวมคุณภาพการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับมากทุกด้านมีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียมกันด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่องด้านการให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลาด้านการให้บริการอย่างเพียงพอและด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า 3. ปัจจัยการให้บริการทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการของพนักงานสายสนับสนุนโดยรวม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 เรียงลำดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ปัจจัยการให้บริการด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านระยะเวลา ด้านความสะดวกในการบริการ ด้านระบบการบริการ ด้านบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อม  This research aimed 1. to study on service of academic support staff in Dean office, 2. to evaluate on the service quality of academic support staff in Dean office, and, 3. to study on the relationship between factors of service and service quality of academic support staff in Dean office. Populations and samples of this research were 485 of personnel and students from  Faculty of Political Science and Law, Burapha University. Research tool was the questionnaire. Statistics applied for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and correlation coefficient. 1. It was found from the results of the study that overall, service from academic support staff was at high level where the service from academic support staff in all aspects were high. It could be ranked from high to low as follows: staff personality, environment, service system, service quality and convenience of service. 2. Overall, service quality from academic support staff was in high level; and from all aspects, service quality was in high level as well. It could be ranked from high to low as follows: equality of services, continuous of service, speed and timely of service, sufficient service and advanced service. 3. All factors of service providing were related to overall service quality of academic support staff at the significance level of 0.01. These factors could be ranked in term of relationship from high to low as follows: service factors related to service quality, time period, convenience of service, staff personality, and environment.

References

ชมนาด ม่วงแก้ว. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัชวาล ทัตศิวัช. (2553). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ : ระบบวัดคุณภาพการให้บริการการพัฒนาคุณภาพการให้บริการหน่วยงานภาครัฐไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(10), 105-146.

ชาลินี พลดีลา. (2551). ความคิดเห็นของนักศึกษาภาคปกติเกี่ยวกับการให้บริการของเจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยจันทรเกษม.

ชุติมณฑน์ วิมูลชาติ. (2553). ความพึงพอใจของกลุ่มคนทำงานในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดรุณี คงสุวรรณ์. (2549). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บังอร รัตนมณี และกันยา เจริญศักดิ์. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่องานบริการการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ผกาพันธ์ โสดามุข. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อคุณภาพการให้บริการทางการ ศึกษาของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรวิภา บรรจงแจ่ม และคณะ. (2548). ความพึงพอใจของนักศึกษาภาคปกติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

เพ็ชรี แก้วโชติรุ่ง. (2551). ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการในการดำเนินการให้บริการด้านทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของสำนักทะเบียน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยบูรพา. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.buu.ac.th/aboutus/frontend/index

รัตนะ อินจ๋อย. (2551). การประเมินคุณภาพการบริการของสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัลลภ สงวนศักดิ์. (2554). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนและวัดผลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามการรับรู้ของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.

วาสนา จิรมงคลเลิศ และจักรี ไชยพินิจ. (2555). การวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการปฏิบัติเพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานคณบดี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553). คุณภาพในงานบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2550). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูบีซีแอลบุ๊คส์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุโณทัย อุ่นไธสง. (2552). คุณภาพการให้บริการของกองการเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อังคณา ศรีมุลตรี. (2548). ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ระบบปกติและระบบพิเศษต่อการให้บริการของกองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kotler, P. (2010). Marketing management (The Millennium ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Millet, J.D. (1954). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

Published

2023-01-19