รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย

The Solid Waste Management of Large Municipalities in Industrial Areas in the Eastern Region of Thailand

Authors

  • ภูษิต แจ่มศรี
  • สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์

Keywords:

นโยบายและมาตรการในการจัดการขยะ, การจัดการขยะมูลฝอย, เทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม, Waste management policies and measures, Solid waste management, Large municipalities in industrial areas

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์นโยบาย มาตรการและหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทยและ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Document Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ผู้บริหารหรือตัวแทนข้าราชการประจำของหน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะตัวแทนประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ จำนวน 19 คนทำการศึกษาในพื้นที่เทศบาลขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ เทศบาลนครแหลมฉบังเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interviews) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ หรือรูปธรรม และวิเคราะห์ตีความข้อมูลแบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา (Methodology triangle) ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการจัดการขยะนั้นมีความครอบคลุมตั้งแต่ทางด้านการเมืองที่มีแนวนโยบายแห่งรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ .2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินโยบายความมั่นคงแห่งชาติรวมถึงแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555 - 2574 และหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) กระทรวงมหาดไทย 2 ) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ,กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) และ 3) กระทรวงอุตสาหกรรม 2. การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ทั้ง 3 แห่งนั้นมีความสอดคล้องกันจากปัญหาการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมทำให้มีขยะจากการผลิตรวมทั้งการเดินทางเข้ามาทำงานของประชากรแฝงทำให้มีการก่อนเกิดขยะเป็นจำนวนมากและไม่สามารถกำจัดได้หมดจากปัญหาทางด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและพฤติกรรมของประชาชนประกอบกันจึงทำให้เทศบาลฯทั้ง 3 แห่งมีการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมด้านสังคมและสาธารณสุขและคุณภาพสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ นอกจากนั้นรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่งนั้นส่วนใหญ่มีการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินการ  The aim for this research was: 1) To analyze the policies, measures and government agencies involved solid waste management of large municipalities in industrial areas in the eastern region of Thailand 2) To study solid waste management of large municipalities in industrial areas in the eastern region of Thailand. This study was a qualitative research by collecting data from document research and in-depth interviews. The Key Informant of research were 19 Executives or representatives of government officials from provincial and local government who involved   in waste management, People's Representative civil society organization. This research study conducted in three large municipality areas were 1) Laemchabang city municipality 2) Chaophraya Surasak town municipality and 3) Maptaput town municipality The instrument used in this study was a semi-structured interview. The data analysis composed of describing the data in phenomena or concrete and analyzing the data in a methodological triangle. The results of study were that: 1. Waste management policies are covered from the political side to the state policies. Whether it is the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017), the 20-year national strategy, the national economic and social development plan national security policy including the Thai Industrial Development Master Plan 2012-2031.  The Government agencies involved in solid waste management are 1) Ministry of Interior 2) Ministry of Natural Resources and Environment and 3) Ministry of Industry. 2. The management of solid waste in all three areas was consistent from the problem of the occurrence of industrial estates causing production waste. Including traveling to the latent population to work, causing a large amount of waste before it can be eliminated completely due to problems in management, technology and people's behavior combined.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. (ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/publication/ 4175/

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลโรงงานในเขตการนิคมแห่งประเทศไทย.(ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 16 กันยายน พ.ศ. 2564, เข้าถึงได้จาก http://userdb.diw.go.th/ factory/ieat.asp.

ณิชชา บูรณสิงห์. (2558). การบริหารจัดการขยะ : กรณีจังหวัดสงขลาและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs. วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://sdgs.nesdc.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs.

อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์. (2558). ขยะกำลังจะล้นโลก (ตอนที่ 1). จุลสารจับกระแสเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Watch), ฉบับที่ 1, ปีที่ 1, 2558.

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Public Administration Review, 6(60), 549-559.

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.

Deumling, R. (2001). The Future of “Waste”: etymological and conceptual foundations of solid waste management. Energy and Resources Group, University of California at Berkeley.

Hoornweg, D., amd Bhada-Tata, P.. (2012). What a Waste: A Global Review of Solid Waste Management. Urban development series; knowledge papers no. 15. World Bank, Washington, DC.

Osborne, D. and Gaebler, T. (1992). Reinventing Government. New York, NY.

Downloads

Published

2023-01-19