การพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัยผ่านหลักสูตรการเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่าเพื่อสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดกาฬสินธุ์

Potential Development of the Elderly through the Learning Courses to Create Value for Creation Safe Media in School of Elders, Kalasin Province

Authors

  • อ๊อต โนนกระยอม
  • พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์

Keywords:

การพัฒนาศักยภาพ, ผู้สูงวัย, โรงเรียนผู้สูงอายุ, จังหวัดกาฬสินธุ์, Potential Development, Elderly, School of Elders, Kalasin Province

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของผู้สูงวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัยก่อนและหลังใช้หลักสูตรการเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่า 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงวัยที่มีต่อหลักสูตรการเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่าประชากรในการศึกษา คือ ผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 125 คนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินและแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Paired Samples Test เพื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังอบรม ผลการวิจัยพบว่า1) ศักยภาพของผู้สูงวัย โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.89, S.D. = .38) 2) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัยหลังการอบรมผ่านหลักสูตรการเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนที่สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้สูงวัยที่มีต่อหลักสูตรการเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่าโดยรวมและรายข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58, S.D. = .55) This research using quasi-experimental research were three objects that: 1) to study the potential of elderly, 2) to compared the achievements of the potential development of the elderly before and after through the learning course to create value and 3) to study the satisfaction of the elderly through the learning course to create value. The population was the elderly in School of elders including 125 people, the sample was total 97 people to use a simple random sampling method. The tools used to collect data are assessments and questionnaires. Statistics used to analyze data include percentage, average, standard deviation, and paired samples test t-test to compare before-after training. The findings were as follows: 1) The potential of the elderly was overall and listings had the high average level (= 3.89, S.D. = .38). 2) Achievement of the potential development of the elderly was after training through learning course to create value, higher than before training. Statistically significant at .01 level. 3) The satisfaction of the elderly towards the learning course was overall and listings had the highest average level (= 4.58, S.D. = .55).

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ และคณะ. (2562). การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), หน้า 44-53.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2561). สถานการณ์การสูงวัยของประชากรไทย. วันที่ค้นข้อมูล 25 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก http://thaigri.org./?p36746.

ยงยุทธ บุราสิทธิ์ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2561). การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), หน้า 129.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ.นครปฐม : บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลาจำกัด

ฤตินันท์ นันทธิโร. (2543). บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิทยากร เชียงกูร. (2552). จิตวิทยาในการสร้างความสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ: ความเป็นจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2561). รายงานประจำปีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

Blumer, H. (1969). The Methodological Position in Symbolic Interaction. InSymbolic Interactionism Perspective and Method (pp. 1-60). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

Published

2023-01-19