การพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม

The Development of Criteria for Assessing Cross-Cultural Competence of Cultural Staff

Authors

  • สุปราณี เวชประสิทธิ์
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • ปริญญา เรืองทิพย์

Keywords:

สมรรถนะข้ามวัฒนธรรม, ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม, เกณฑ์การประเมิน, Cross-Cultural Competence, Cultural Staff, Criteria

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ประเด็นแนวโน้มที่เป็นไปได้ของเกณฑ์การประเมิน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา 2) การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมด้วยเทคนิคเดลฟายอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) การวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตและจัดลำดับและน้ำหนักความสำคัญของด้าน และตัวบ่งชี้ ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ตัวบ่งชี้ 80 เกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ 1) ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม 2) ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) 2) ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม (4 ตัวบ่งชี้ 40 เกณฑ์การพิจารณา) 3) ด้านความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม (2 ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) สมรรถนะข้ามวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (สูงมาก) เมื่อวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คนโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต พบว่า ค่าคุณภาพของขอบเขตล่าง (Lower Approximation) (QL ≥ 0.75) ของด้านตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด อยู่ระหว่าง 0.79 – 1.00 และเมื่อจัดลำดับของด้านและตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ พบว่า ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ 0.6571 (66%) รองลงมาคือ ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักเท่ากับ 0.2746 (27%) และด้านความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรม มีลำดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ มีน้ำหนักเท่ากับ 0.0683 (7%) สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม  This research aims to develop of criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff. The method of this research consists of 3 steps as the following; 1) Synthesis of potential trends in assessment criteria, indicators, and sub indicators 2) Development of a cross-cultural competence assessment framework for cultural staff with e-Delphi technique and 3) Measuring the consensus of expert groups using rough set theory and prioritizing and weighting the importance of components and indicators with analytic hierarchical process (AHP). The results were; The developed of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff contained three components with 8 indicators. These were: 1) Cross-Cultural Attitudes (2 indicators, 20 sub indicators) 2) Cross-Cultural Skills (4 indicators, 40 sub indicators) and 3) Cultural Knowledge and Understanding (2 indicators, 20 sub indicators). They were categorized into five levels ranking for improve to very high performance. The measured the consensus of a group of 19 experts using rough set theory, it was found that the quality of the lower Approximation (QL ≥ 0.75) of all components indicators and sub indicators was between 0.79 – 1.00 and ranked the components and indicators of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff using analytic hierarchical process (AHP), it was found that the cross-cultural attitudes has the highest weight equal to 0.6571 (66%), followed by cross-cultural skills with a weight of 0.2746 (27%) and cultural knowledge and understanding has the least priority, with a weight of 0.0683 (7%). It can be concluded that the developed of the criteria for assessing Cross-cultural competence of cultural staff are appropriate for use in assessing Cross-cultural competence of cultural staff.

References

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2561, 3 พฤษภาคม). สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก. เดลินิวส์. หน้า 23.

ชาลี ไตรจันทร์. (2551). การกำหนดและประเมินสมรรถนะบุคลากรภาครัฐที่เหมาะสมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/4941/ 2/294256.pdf

ราชบัณฑิตสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-L ฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2557). AHP การตัดสินใจขั้นสูงเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของมหาชน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ศราวุธ ยังเจริญยืนยง, เสรี ชัดแช้ม และกนก พานทอง. (2559). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 43-58.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ดาริน โต๊ะกานิ และมุสลินท์ โต๊ะกานิ. (2552). สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Narathiwas University Journal, 1 (ฉบับปฐมฤกษ์). 1-11.

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2553). เอกสารประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ระยะที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2557-2558. กรุงเทพฯ: แกรนด์อาร์ต ครีเอทีฟ.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีมา สีมานันท์. (2553, 23 พฤศจิกายน). ของฝากอธิบดี เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะองค์การ. มติชน, หน้า 6.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สุมามาลย์ ปานคำ และเสรี ชัดแช้ม. (2559). การพัฒนาวิธีการวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตในเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 87-101.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก : คำอธิบาย และตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น สำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12. ม.ป.ท.

Behymer, K. J., Mateo, J. C., & McCloskey, M. J. (2015). Making the case for an ecological approach to cross-cultural competence training and assessment. Procedia Manufacturing, 3, 3941-3947.

Cole, D. Z., Donohoe, H. M., & Stellefson, M. L. (2013). Internet-based Delphi research: case base discussion. Environ Manage, 51(3), 511-523.

Delbecq, A. L., Van de Ven, D. H., & Gustafson, D.H. (1975). Group Techniques for Program Planning: A Guide to Nominal Group and Delphi. Illinois: Foresman and Company.

Diamond, I. R., Grant, R. C., Feldman, B. M., Pencharz, P. B., Ling, S. C., Moore, A. M., & Wales, P. W. (2014). Defining consensus: a systematic review recommends methodologic criteria for reporting of Delphi studies. Journal of clinical epidemiology, 67(4), 401-409.

Giannarou, L., & Zervas, E. (2014). Using Delphi technique to build consensus in practice. Int. Journal of Business Science and Applied Management, 9(2), 65-82.

Glickman, L. B., Olsen, J., & Rowthorn, V. (2015). Measuring the Cross-Cultural Adaptability of a Graduate Student Team from a Global Immersion Experience. Journal of cultural diversity, 22(4), 148-154.

Habibi, A., Sarafrazi, A., & Lzadyar, S. (2014). Delphi technique theoretical framework in qualitative research. The International Journal of Engineering and Science (IJES), 3(4), 2319-1805.

Hsu, C. C., & Sandford, B. A. (2007). The Delphi technique: making sense of consensus. Practical assessment, research & evaluation, (10), 1-8.

Leung, P., & Cheung, M. (2013). Factor analyzing the “ASK” cultural competency self-assessment scale for child protective services. Children and Youth Services Review, 35(12), 1993-2002.

Liu, T. W., & Chin, K. S. (2010). Development of audit system for intellectual property management excellence. Expert Systems with Applications, 37(6), 4504-4518.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. In paper presented at the annual meeting of the California Junior Colleges associations committee on research and development, May 3-5. CA: Monterey.

Mamaqi, X., Miguel, J., & Olave, P. (2010). The e-DELPHI Method to Test the Importance Competence and Skills: Case of the Lifelong

Learning Spanish Trainers. International Scholarly and Scientific Research & Innovation, 4(6), 1317-1325.

Ndiwane, A., Koul, O., & Theroux, R. (2014). Implementing standardized patients to teach cultural competency to graduate nursing students. Clinical Simulation in Nursing, 10(2), e87-e94.

Panadero, E., & Romeo, M. (2014). To rubric or not to rubric? The effects of self-assessment on self-regulation, performance and self-efficacy. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 21(2), 133-148.

Rothwell, W. J., & Graber, J. M. (2010). Competency-Based Training Basics. The United State of America: Versa Press Inc.

Saaty, T. L., & Vargas, L. G. (2012). Models, Methods, Concepts & Applications of the Analytic Hierarchy Process (2nd ed.). New York: Springer Science+Business Media.

Skulmoski, G. & Hartman, F. (2002). The Delphi method: Researching what does not exist (yet). In Proceedings of the International Research Network on Organization by Projects, IRNOP V Conference, Renesse, The Netherlands.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. Hoboken, NJ: Jossey-Bass (publisher).

Trumble, B. (2000). Reader’s Digest Great Dictionary of the English Language. London: Reader’s Digest.

Unesco, Leeds-Hurwitz, W., & Stenou, K. (2013). Intercultural Competences: Conceptual and Operational Framework. Unesco.

U.S. Office of Personel Management. (2011). Performance management, Retrieved March 12, 2016, from http://206.16.224.206/perform/oveview.asp Webster’s Online Dictionary. (2010). Indicator. Retrieved June 2, 2016, from http://www.webters-online-dictionary.org/

Downloads

Published

2023-07-12