ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษา: หมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน (บ้านซะซอม) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

The Potential of Community-Based Tourism under the OTOP Community Tourism Project: A Case Study of I-Sarn Local Culture-Oriented Tourism Village (Ban Sasom), Khong Chiam District, Ubon Ratchathani

Authors

  • ชูศักดิ์ อินทมนต์
  • ประกาย วุฒิพิพัฒนพงศ์
  • ฐิติมา สุ่มแสนหาญ

Keywords:

ศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี, บ้านซะซอม, Potential, Community Tourism, OTOP Community Tourism Project, Ban Sasom

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามโครงการชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี รวมถึงศึกษาศักยภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการศึกษาศักยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน (บ้านซะซอม) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในชุมชนที่เป็นพื้นที่ศึกษาแล้วใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อนำไปสู่ผลสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพของชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติฯ (บ้านซะซอม) แบ่งออกเป็น 9 ด้านได้แก่ 1) ด้านการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พัก 3) ด้านอาหารพื้นถิ่น 4) ด้านวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน 5) ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 6) ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและศาสนสถาน 7) ด้านการบริหารจัดการภายในชุมชน 8) ด้านการจัดกิจกรรมภายในชุมชนและ 9) ด้านความยั่งยืนของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติส่วนศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติฯ (บ้านซะซอม) แบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านวัตถุดิบและแรงงานในกระบวนการผลิต 2) ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ด้านการสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนและศักยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนประกอบด้วยภาครัฐภาคเอกชนสถาบันการศึกษาและเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อพัฒนาการประชาสัมพันธ์ผ่านโครงการต่าง ๆ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาการตลาดออนไลน์ การวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการของการตลาด การพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถการช่วยเหลือด้านเงินทุนเพื่อให้นำไปสู่การดึงดูดนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังชุมชนได้อย่างยั่งยืน  The objective of this study was to examine the potential of community-based tourism under the context  of  the  OTOP  community  tourism  project,  as  well  as  the  potential  of  community-based  tourism products and the potential of participation in the project's community tourism development, Khong Chiam District, Ubon Ratchathani Province, OTOP Community Tourism Project of  natural tourism village and I-Sarn  local  culture-oriented  tourism  (Ban  Sasom).Using  in-depth  interviews  with  pertinent  participants and non-participation observation in the study's community, the researchers applied a qualitative research methodology. Then use data analysis with content analysis to approached the conclusions of this research. The study's results indicated that the natural tourist village's Ban Sasom community potential could be categorized into nine categories: 1) Appealing to tourists (2) Resources and accommodation 3) Local cuisine. 4) The traditions and cultures of the local community, 5) The natural attractions, 6) The cultural and religious places, 7) The management of the community, 8) The preparation of community events, and 9) The sustainability of tourism. There are three dimensions to the potential of village-based natural tourist goods (Ban Sasom): 1) The use of labor and raw materials in the production process 2) Local product standards and 3) branding a product and creating an identity as well as possible involvement in  community development consists of the public and private sectors, educational institutions, and a network of local tourism sites that promotes learning to improve public relations through numerous initiatives, product and packaging research, and development. To examine market demands and build knowledge, skills, and finance support, conduct online marketing development research. This will assist communities to attract tourists in a sustainable way.

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก https://api.tourismthailand.org/upload/live/content_article_file/20603-15378.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/download/journal/development_plan 2559.pdf.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.วารสารนักบริหาร, 32(4), 139-146.

เขมจิรา หนองเป็ด, สุวภัทร ศรีจองแสง และยุวดี จิตต์โกศล. (2562). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์, 15(2), 276-338.

ครรชิต มาระโภชน์, รัชฎาพร วงษ์โสพนากุล, ภานุวัฒน์ ธัมมิกนันท์, ไตรภพ โคตรรวงษา, ทักษินา สมบูรณ์, กรรณิกา สุภาภา และจุฑาพร แก่นอ้วน. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 9(2), 79-81.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฬามณี แก้วโพนทอง, ทรงพล โชติกเวชกุล, ปัญญา คล้ายเดช และพระสุนทร ชำกรม. (2561). การบริหารจัดการชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(1), 263-273.

ชูศักดิ์ อินทมนต์. (2562). รูปแบบและกระบวนการในการบริหารจัดการนวัตกรรมโฮมสเตย์เพื่อการ ท่องเที่ยว. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณภัทร ทิพย์ศรี, ปวีร์สุดา มหาวงค์ และหนึ่งฤทัย บรรดิ. (2556). คุณภาพการบริการของธุรกิจนำเที่ยวที่มีต่อความประทับใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในจังหวัดเชียงราย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(1), 8-19.

นิชนันท์ อ่อนรัตน์. (2561). นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 228-241.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2544). การนำเสนองานที่มีสสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ปวิธ ตันสกุล. (2562). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 81-92.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และ สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 22-33.

พรชัย เพียรพล. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเหล่าในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม้โจ้.

พรรณิภา ซาวคำ, ปริพรรน์ แก้วเนตร, ณฐมน สังวาล, งามนิจ แสนนาพล และภูวนารถ ศรีทอง. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 12(1), 165-182.

พรหมลิขิต อุรา และพิชญาพร ศรีบุญเรือง. (2563). สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของทายาทมัคคุเทศก์ท้องถิ่นสำหรับชุมชนการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 120-134.

พระจำนงค์ ผมไผ, ยุภาพร ยุภาศ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). วัดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางลุ่มน้ำโขง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 158-170.

พัชสิรี ชมพูคำ. (2553). การประเมินขีดความสามารถของอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูงโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูง. เข้าถึงได้จาก library.dip.go.th/multim4/eb/EB %20124.7.doc.

ภัทรชนม์ รัชตะหิรัญ. (2558). ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

วลัยพร สุขปลั่ง, ศุภกัญญา เกษมสุข และอัญญานี อดทน. (2562). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา, (1), 79-96.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2556). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศศิชา หมดมลทิล. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน: หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจฐานราก ส่วนเศรษฐกิจฐานรากศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. เข้าถึงได้จาก https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/ 2019/10/GR_report_travel_detail.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2563). แผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2560-2565 (ฉบับทบทวน). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10196&filename=index

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2555). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2564). OTOP นวัตวิถี คืออะไร. เข้าถึงได้จาก https://cep.cdd.go.th/otop.

อรรทวิท ศิลาน้อย, ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป, วันทกาญจน์ สีมาโรจน์, และวัฒนา ทนงค์แผง. (2562). ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพระบรมธาตุนาดูน สำหรับการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 130-143.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2560). CBT ทำอย่างไรให้ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: องค์การมหาชน.

อานิสงค์ โอทาตะวงศ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัย, 25(1), 47-53.

McLagan, P. A. (1997). Competencies: The Next Generation. Training & Development, 51(4), 40-47.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.

Downloads

Published

2023-07-12