ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Factors Affecting Cyberbullying Behavior: A Case Study of Students at Burapha University

Authors

  • บุษราคัม ชัชวาลชาญชนกิจ
  • ธีระ กุลสวัสดิ์
  • ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน

Keywords:

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์, เจตคติต่อพฤติกรรม, พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์, Cyberbullying, Attitudes Toward Behaviors, Behaviors and Factors of Cyberbullying

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มหาวิทยาลัยบูรพาโดยกลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน จำนวน 400 คน โดยผลการวิจัยพบว่านิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุดผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษานิสิต มหาวิทยาลัยบูรพากับข้อมูลเชิงประจักษ์โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าความตั้งใจในการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และเจตคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ผ่านตัวแปรความตั้งใจ  This research aims to (1) Examine the cyberbullying behavior of undergraduate students at Burapha University and (2) Investigate the factors influencing the cyberbullying behavior of Burapha University students. The sample group consists of 400 undergraduate students from the Bangsaen campus of Burapha University. The results of the research found that, on average, the undergraduate students of Burapha University have a very low level of opinion regarding cyberbullying behaviors. The consistency check of the causative relationship model of factors affecting cyberbullying behavior, in the case study of Burapha University students with empirical data, shows that the model aligns well with the empirical data. The analysis concludes that the intention to cyberbully has a significant influence on the behavior of cyberbullying. Additionally, attitudes towards cyberbullying and the tendency to conform to a reference group indirectly influence cyberbullying behavior through the variable of intention.

References

กชพรรณ มณีภาคม และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2562). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

นิศริน เจ๊ะหามะ และคณะ. (2564). ผลกระทบจากพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนในจังหวัดปัตตานี. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

พนม กุณาวงค์ และภาคย์ ชูชื่น. (2557). ระดับการยอมรับของลูกค้าต่อการประชาสัมพันธ์ของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และศิวพร ปกป้อง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการกระทําความรุนแรงทั้งทางกายภาพและการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

สสส. (2563). Cyberbully คืออะไร? ส่งผลอย่างไร? และเราควรรับมือกับมันอย่างไรดี?. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก from https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/cyberbully-

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Process,50, 179-211.

Dehue, F., Bolman,C., & Völlink, T. (2008). Cyberbullying: Youngsters Experiences and Parental Perception. Cyberpsychology and Behavior, 11(2), 217-223.

ETDA. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. Retrieved March 5, 2023, from https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: an introduction to theory and research. NewYork: Addison Wesley.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th). N.J.: Pearson Prentice Hall.

Shinal, J. (2017). Online threats lead to real-world harm, say security experts. Retrieved March 5, 2023, from https://www.cnbc.com/2017/08/29/online-threats-real-world-harm.html

Yamane, T. (1967). Statics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2024-01-03