การพัฒนาการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในพื้นที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

Development of the Administration of the Village and Urban Community Fundin the Huai Krachao District Area Kanchanaburi Province

Authors

  • สัณหพร เตชะเสน

Keywords:

การพัฒนาการบริหารงาน, สภาพแวดล้อมภายในองค์การ, สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ, Management development, Environment within the organization, Environment outside the organization

Abstract

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในพื้นที่ อำเภอห้วยกระเจาจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จไม่มีหนี้ค้างชำระ ได้ผลการประเมินเกรด A และศึกษารูปแบบกองทุนหมู่บ้านที่บริหารจัดการไม่ประสบความสำเร็จจนเกิดหนี้ค้างชำระและ 2) แนวทางในการพัฒนา ที่จะนำไปปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่ไม่ประสบความสำเร็จให้ประสบความสำเร็จไม่มีหนี้ค้างชำระการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบลกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน รองประธานกรรมการ กรรมการ เหรัญญิก เลขานุการ เหรัญญิก และสมาชิก จำนวน 37คน ผลการศึกษาพบว่าจากจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 กองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งได้รับงบประมาณกองทุนละ 1 ล้านบาทเท่ากัน เมื่อนำปัจจัยการบริหารจัดการตามแนวคิดของ McKinsey มาวิเคราะห์ มีข้อค้นพบว่ากองทุนหมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการได้ประสบความสำเร็จ เพราะมีกระบวนการบริหารจัดการที่ทำงานสอดคล้องกันทั้ง 7 ปัจจัย ตามแนวคิดของ McKinsey การบริหารจัดการยึดกลยุทธ์ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกำหนดแบ่งโครงสร้างชัดเจนเน้นการทำงานเป็นทีม มีลำดับขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน ทุกคนมีสิทธิในการออกเสียง แม้การเลือกตั้งกรรมการใหม่จะเป็นกรรมการชุดเดิม กรรมการทุกคนไม่ว่าอยู่ในตำแหน่งใดมีภาวะผู้นำและผู้ตามในเวลาเดียวกันเสมอ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและสมาชิกร่วมกันทางานให้บรรลุวัตถุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ นอกเหนือจากปัจจัยการบริหารจัดการภายในแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน อาทิ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสังคมเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าวจะมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามไปด้วย  Research on the development of management of village and urban community funds in Huai Krachao District, Kanchanaburi Province for study. 1) Successful Village Fund Management Model There are no outstanding debts. Received grade A evaluation results and studied village fund models that were unsuccessful in management. until there is outstanding debt and 2) guidelines for development that will be used to improve the village fund management model unsuccessful to be successful There are no outstanding debts. This research is qualitative research. The main informants used in this study were the chairman of the village fund network at the provincial level, district level, sub-district level, kamnan, village headman, village fund committee chairman. Vice Chairman, Director, Treasurer, Secretary, Treasurer and members, totaling 37 people. The results of the study found that From the beginning in 2001, each village fund received the same budget of 1 million baht per fund. When the management factors according to McKinsey's concepts were analyzed, there were findings that Village funds that can be successfully managed Because there is a management process that works in harmony with all 7 factors according to McKinsey's concept. Management is based on strategies as determined by the Village and Urban Community Fund Office. Clearly divided structure Emphasis on teamwork There is a sequence of work steps. From selecting people to work Everyone has the right to vote. Even though the new directors are elected, it will be the same directors. Every director, regardless of position, always has leadership and followership at the same time. The Village Fund Committee and its members work together to achieve the objectives they have set. In addition to internal management factors There are also external factors that affect the success of village fund management, such as environmental factors related to society, economy, and politics. When there are changes in such factors, It will influence the management of village funds as well.

References

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2518). วิเคราะห์โครงการผันเงิน: ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิ่งกาญจน์ นาเอี่ยม และคณะ. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลลำพญา อ.บางเลน จ.นครปฐม. วันที่ค้นข้อมูล 12 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research5504.pdf

ชาย โพธิสิตา. (2548). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2546). การบริหารการเปลี่ยนแปลง ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐในยุคปัจจุบัน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 1(2), 5-13.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2564). 7S Model (McKinsey) สารานุกรมการบริหารและการจัดการ. วันที่ค้น ข้อมูล 12 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://drpiyanan.com/2021/05/27/7s-model-mckinsey/

ภัทราจิตร แสงสว่าง และคณะ (2561). การประเมินกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมือง: กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาขาการบัญชี, คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี.

ศุภชัย ยาวะประภาษ.(2530). ปัจจัยภายนอกที่อยู่ใกล้องค์การและมีผลกระทบต่อการทำงานขององค์การ. ม.ป.ท.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐที่ประสบความสำเร็จในการบริการประชาชน: การบริหารการเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

สุนทร ปัญญะพงษ์. (2562). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษากองทุน หมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์, 42, 27-37.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์. (2562). การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก: กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์, 7(3), 888-898.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2555). ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. นครปฐม: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย. (2559). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมือง หมู่ที่ 9 ต.ตำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 10(2), 102-108.

Thompson, A., & Strickland, A. (2003). Strategic Management Concept and Cases. New York: Mcgraw- Hill College.

Thomas J. P., & Waterman, R. H. Jr., (1980). In Search of Excellence: Lessons from America's Best-Run Companies. New York: HarperCollins.

Downloads

Published

2024-01-03