https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/issue/feedวารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง2024-07-03T01:50:30+00:00Jaranyachain_d@hotmail.comOpen Journal Systemshttps://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10051จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง2024-07-03T01:18:11+00:00ศรัณย์รัชต์ รัตนพันธ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยเรื่อง จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชนตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาองค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ และมีวิธีการเตรียมการและดำเนินงานอย่างไร จึงสามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารออมสิน สถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว ครู ทหาร ตำรวจ พระ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า แม่ค้า และประชาชนโดยรอบในแต่ละพื้นที่ จำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีนโยบายยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 เมื่อนำแนวคิดทฤษฎีเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงของศุภชัย ยาวะประภาษ ของปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และ Johns and Saks แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของ Jame M. Burns แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง ของโกวิทย์ พวงงาม และแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2551) มาวิเคราะห์พบว่า องค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ มาจากความสามารถของผู้บริหารระดับกลาง คือคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน ที่สามารถดึงความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูง คือ ประธานกรรมการองค์กรการเงินชุมชนและลดการต่อต้านจากบุคลากรระดับปฏิบัติการคือสมาชิกองค์กรการเงินชุมชน โดยเฉพาะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสารขององค์กรการเงินชุมชนเป็นหลัก เป็นผู้ซึ่งอยู่ในกลุ่มคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าในกลุ่มคณะกรรมการทั้งหมดใครจะเป็นคนทำเอกสาร และยินดีทำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้มาจากการบังคับจากกรรมการในกลุ่มแต่อย่างใด อีกทั้งวิธีการเตรียมการและดำเนินงานจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ องค์กรการเงินชุมชนต้องมีพื้นฐานที่ดีมาตั้งแต่การเป็นองค์กรการเงินชุมชน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเปลี่ยนแปลงก็จะใกล้เคียงสภาพปกติที่เป็นอยู่ ทุกคนในชุมชนยินดีมีส่วนร่วมไม่รู้สึกต่อต้านว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความพร้อมเพรียงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเข้าร่วมประชุมเพื่อขอมติเห็นชอบที่จะจดทะเบียนยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียน การลงลายมือชื่อ การประสานงาน ความรวดเร็วในการให้ความร่วมมือหลังได้รับแจ้งแก้ไขจากธนาคารผู้ประสานงาน เป็นต้น Research on From a community financial organization to a people's financial institution: a case study of the people's financial institution, Nam Khao Subdistrict, Chana District, Songkhla Province, and the Champa Lor Sub-district People's Financial Institution. Mueang Ang Thong District Ang Thong Province The objective is to find a community financial organization that can successfully register and upgrade to a public financial institution. And what are the preparation and operation methods? Therefore, it was able to successfully register as a people's financial institution. This research is qualitative research. The main informants used in this study were representatives from the Fiscal Policy Office, Government Savings Bank, Champa Lor Subdistrict People's Financial Institution. and the Nam Khao Subdistrict People's Financial Institution, teachers, soldiers, police, monks, kamnans, village headmen, merchants, and surrounding people in each area, totaling 40 people. The results of the study found that Since there was a policy to upgrade community financial organizations to people's financial institutions according to the People's Financial Institutions Act 2019, when using the theoretical concepts of change management of Supachai Yavaprapas, Panaros Malakul Na Ayutthaya, and Gary Johns and Alan Michaels Saks. The concepts of leadership and change management by James M. Burns, the concept of strong communities by Kowit Puangngam, and the concept of public participation by Paiboon Wattanasiritham were analyzed and found that Community financial organizations that can successfully register as people's financial institutions It comes from the ability of middle management. It is the community financial organization committee. That can draw the cooperation of senior executives, namely the chairman of the community finance organization, and reduce opposition from operational personnel, namely members of the community finance organization. Especially the community financial organization committee members. A person who acts primarily as a documentation worker for a community finance organization. who is already on the board of the community financial organization It depends on who in the entire committee will prepare the documents. and willing to do it wholeheartedly It did not come from any compulsion from the group directors. Moreover, the methods for preparing and carrying out the registration work to upgrade to a public financial institution were successful. Community financial organizations must have a good foundation since becoming a community financial organization. When there was a change to a public financial institution The change will be close to the normal status quo. Everyone in the community was happy to participate, but did not feel that the change made everything different. There is readiness in every process. Moreover, the methods for preparing and carrying out the registration work to upgrade to a public financial institution were successful. Community financial organizations must have a good foundation since becoming a community financial organization. When there was a change to a public financial institution The change will be close to the normal status quo. Everyone in the community was happy to participate, but did not feel that the change made everything different. There is readiness in every process. Since attending the meeting to request approval to register and upgrade the community financial organization to a people's financial institution. Preparing supporting documents for registration application Signatures, coordination, speed of cooperation after receiving corrections from the coordinating bank, etc.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10052การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก2024-07-03T01:22:05+00:00จิดาภา ธรรมรักษ์กุลjournalLibbuu@gmail.comอนิรุทธิ์ อัศวสกุลศรjournalLibbuu@gmail.com<p>เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เป็นเทคโนโลยีผสมโลกของความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งจำลองเหล่านั้นได้ ซึ่งจะมีศักยภาพในการนำเสนอเนื้อหาที่ได้เปรียบกว่าการใช้สื่อแบบเดิมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้น่าสนใจและแปลกใหม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพิพิธภัณฑ์และเพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้เลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี และนักท่องเที่ยวและผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านการนำเสนอและการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงในรูปแบบสามมิติเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้สามารถเข้าใจง่าย เพิ่มช่องทางในการให้ข้อมูลเป็นการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางจริง แต่เป็นการเดินทางแบบ “เสมือนจริง” และเป็นสื่ออีกหนึ่งช่องทางที่ใช้ เพื่อจูงใจส่งเสริมประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีต่อไปในระดับที่ลึกลงไปได้ Augmented Reality Technology It is a technology that combines the real world and the augmented reality together. processed from computer allowing us to respond to those simulations This will have the potential to present content that is more advantageous than traditional media and can be applied to various learning to be exciting and new. This research is to study on Sustainable Tourism the use of Information Technology for Thailand 4.0 with Augmented Reality Technology: A Case Study of Sgt. Maj. Thawee Folk Museum Phitsanulok Province. The objective of this research is study the guidelines for the development of tourism by using information technology for museums and Study of using Augmented Reality Technology for Sgt.Maj. Thawee Folk Museum Phitsanulok Province. This study used quality method. The samples used in this study are Museum Specialist, Travel Specialist, Museum Management and Tourist. Which from the research results showed that Augmented Reality (AR) are attract tourists, create interest and to encourage learning. Especially the application in the presentation and display of objects in the museum. By displaying them in three dimensions as a tool that can create learning to be easy to understand. It is a trip without actually traveling. But it's a "virtual" journey. And promote public relations to stimulate museum tourism. This can lead to further learning of the local wisdom of the Sergeant Thawee Folk Museum at a deeper level.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10053การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุบัติเหตุจราจรปี พ.ศ. 2565 ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลกฎความสัมพันธ์2024-07-03T01:27:35+00:00ประจักษ์ เฉิดโฉมjournalLibbuu@gmail.com<p>งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติเหตุจราจรในปี พ.ศ. 2565 โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลอัลกอริทึมอพริโอริ (Apriori Algorithm) เพื่อการทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุ การศึกษานี้ใช้ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจราจรจำนวน 20,033 แถว (Rows) ประกอบไปด้วย 6 ตัวแปร (Attributes) สำหรับการทำนายปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจร ได้แก่ ลักษณะทางที่เกิดเหตุ มูลเหตุสันนิษฐาน พฤติกรรมของผู้ขับขี่ สภาพอากาศและคุณลักษณะของยานพาหนะ การค้นพบเผยให้เห็นรูปแบบและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ กฎความสัมพันธ์ที่หนึ่งเท่ากับ 6,461 ครั้งเกิดจากยานหนะพลิกคว่ำและตกถนนในถนนเส้นทางตรง กฎความสัมพันธ์ที่สองเท่ากับ 4,998 ครั้ง เกิดจากการพลิกคว่ำและตกถนนในถนนเส้นทางตรงและทัศนะวิสัยแจ่มใสและกฎความสัมพันธ์ที่ 3 เท่ากับ 5,192 ครั้ง เกิดจากการขับรถเร็วเกินกำหนด การพลิกคว่ำและตกถนนในเส้นทางตรงและทัศนะวิสัยแจ่มใส โดยค่าความเชื่อมั่นของโมเดลการทำนายเท่ากับ 94 % (Conf. =0.94)) ซึ่งสรุปได้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากความประมาทและขับรถเร็วเกินอัตรากฎหมายกำหนด งานวิจัยนี้สามารถนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายและการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดึงข้อมูลที่มีค่าจากชุดข้อมูลขนาดใหญ่ นำไปสู่การตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายลดสาเหตุของอุบัติเหตุจราจร This study investigates the factors influencing traffic accidents in 2022 by employing the Apriori Algorithm, a data mining technique. The aim is to understand the fundamental reasons behind accidents, thereby enhancing road safety measures. The research utilizes a dataset pertaining to traffic accidents in 2022, encompassing 20,033 records and six variables. These variables, including scene characteristics, presumptive causes, driver behavior, weather conditions, and vehicle characteristics, are crucial for predicting significant factors contributing to traffic accidents. The findings reveal patterns and relationships among these variables. Notably, the first association rule indicates a frequency of 6,461 instances, identifying rollovers and falls off straight roads as the primary cause. The second association rule, with a frequency of 4,998 occurrences, links rollovers and falls from straight roads to clear visibility. The third association rule, with a frequency of 5,192 instances, associate’s accidents with speeding, resulting in rollovers and falls off straight roads under clear visibility. The average confidence value is 94% (Conf. = 0.94), suggesting that most accidents are due to negligence and excessive speeding. These insights can be presented to policymakers, demonstrating the effectiveness of data mining techniques in extracting valuable information from large and complex datasets. The knowledge derived from this research can inform decision-making processes aimed at establishing policies to mitigate the root causes of traffic accidents.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10054แนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์2024-07-03T01:32:20+00:00วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัยjournalLibbuu@gmail.comธีระวัฒน์ จันทึกjournalLibbuu@gmail.comวชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์journalLibbuu@gmail.comธีระ กุลสวัสดิ์journalLibbuu@gmail.comภัสนันท์ พ่วงเถื่อนjournalLibbuu@gmail.comธัญพิชชา สามารถjournalLibbuu@gmail.comสมคิด เพชรประเสริฐjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งมุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพและทรัพยากรของชุมชน รวมถึงพัฒนาแนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และศึกษาศักยภาพชุมชน เรียนรู้และพัฒนาร่วมกับชุมชน เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงในพื้นที่ศึกษาโดยเลือกตามศักยภาพชุมชนที่มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และพัฒนาชุมชนร่วมกับ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ภาครัฐ 2 คน นักพัฒนาชุมชน 1 คน ปราชญ์ชุมชน 1 คน และสมาชิกชุมชน 4 คน ต่อ 1 พื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนบ้านบาตร และพื้นที่ชุมชนวัดโสมนัส ที่เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านองค์ความรู้กับชุมชน การสร้างตราสินค้า (Brand) จากอัตลักษณ์ชุมชน การบูรณาการวัฒนธรรมกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนทางการเงิน สนับสนุนทางด้านเครือข่ายเพื่อยกระดับศักยภาพชุมชน This research aims to explore the local wisdom and cultural resources in the Rattanakosin area, analyze the community's potential, and develop guidelines for government participation in promoting cultural wisdom for sustainable community development. Conducted as qualitative research, it involves surveying local wisdom and cultural resources, assessing community potential, and utilizing participatory action research (PAR) for collaborative learning and development. Key informants, selected based on community potential, include one community leader, two government officials, one community developer, one local scholar, and four community members from each of the two study areas: Ban Bat Community and Wat Somanas Community, both recognized for their potential for sustainable development. The study concludes that government efforts to promote cultural wisdom for sustainable community development should encompass knowledge support for the community, branding based on community identity, integrating cultural elements with economic development strategies, supporting community finance, and enhancing social networks to bolster community potential.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10055การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี2024-07-03T01:40:06+00:00อ๊อต โนนกระยอมjournalLibbuu@gmail.comพรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี 2) วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรีและ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน เงินหมุนเวียนไม่คล่อง 2) ด้านสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นจำนวนมาก และ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน 2. วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ ต้องการการหารายได้เสริมจากอาชีพที่ว่างจากงานหลัก 2) ด้านสุขภาพต้องการการส่งเสริมสุขภาพโดยการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 3) ด้านการเงินต้องการเรียนรู้วิธีจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน 3. การพัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก 2) ด้านสุขภาพได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมการบันทึกบัญชี กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ The objectives of this research were 1) to study the conditions of problems and obstacles to improving the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. 2) Analyze the needs to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community, and 3) develop activities to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. Using qualitative research methodology, the main informants were 80 seniors aged 60 years and above. The results of the research were as follows: 1. Conditions, problems, and obstacles to improving the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. It was found that 1) Occupational: Most of the elderly have unstable incomes.2) Health Most of the elderly are physically healthy, and 3) Financial Most seniors have not yet organized their financial lives. 2. Analysis of the need to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. Found that 1) Occupation 2) Health needs health promotion by growing organic vegetables in the household, and 3) Financially, they want to learn how to organize their financial life. 3. Development of activities to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. It was found that 1) occupational, the elderly group has carried out plastic basket weaving group activities, 2) health has carried out group activities to grow vegetables, kitchen gardens, edible fences, and 3) financial. The elderly group has carried out accounting activities. Funeral Home Group.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/journalgspa/article/view/10056การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากความคาดหวังสู่อนาคต2024-07-03T01:43:33+00:00โสภณ ลือดังjournalLibbuu@gmail.comชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์journalLibbuu@gmail.com<p>บทความชิ้นนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากต่างประเทศและ การประยุกต์ใช้สู่การจัดการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบและแนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: บทเรียนจากประเทศอังกฤษสู่ประเทศไทย และ บทสรุป เพื่อปูทางการปฏิรูปการศึกษาไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในการก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันคือการรักษาทรัพยากรของโลกไว้อย่างไร ขณะเดียวกันก็พัฒนาความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ถูกกำหนดไว้ในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้ตกลงที่จะจัดการกับการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการตอบสนองสนธิสัญญาดังกล่าวการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการเปิดตัวเพื่อเป็นคำตอบในการรับมือกับความยั่งยืน ซึ่งโครงสร้างผลลัพธ์ของของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถถ่ายทอดผ่านผลลัพธ์ของนักเรียนได้อย่างแท้จริงในแง่ของจิตสำนึกด้านความยั่งยืน This article aims to explore the concepts and theories of education sustainable development, as well as to investigate international strategies in educational sustainable. Specifically, it discusses the beginnings of educational development and reform in the United States, sustainable development, and education sustainable development. It examines patterns and pathways to success in educational management for sustainable development: lessons from the United Kingdom to Thailand. The conclusion seeks to pave the way for reforming Thai education towards a more sustainable future on the global stage. The most significant issue in the current era is how to preserve global resources while simultaneously developing wealth and improving living standards for an increasing population. This grand mission is defined within the framework of sustainable development. Over the past 30 years, the global community has agreed to address sustainable development through international treaties. Education for sustainable development has been introduced as a response to these challenges. The outcomes of sustainable educational development can genuinely be imparted to students in terms of fostering sustainability consciousness.</p>2024-07-03T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024