การวิเคราะห์ความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่มาจากความแตกต่างระหว่างช่วงวัย
Analysis of Political Conflicts Arising from Different Generations Gap
Keywords:
เจเนอเรชั่น, วัฒนธรรมทางการเมือง, การเมือง, การเลือกตั้ง, Generation, Political Culture, Politics, Election VoteAbstract
ความแตกต่างของแต่ละช่วงวัย (Generation) อาจจะส่งผลหลายอย่างในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในสังคมที่มาจากการเติบโตหรือการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมในการใช้ชีวิตมีความแตกต่างกันออกไป ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมืองที่เข้ามามีบทบาทกับทุกชีวิตของทุกคนในสังคม ส่งผลให้มุมมองทางการเมืองเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงวัยเช่นกัน จนก่อเกิดเป็นความขัดแย้งจากที่เห็นในปัจจุบันที่มีการเรียกร้องของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดทางการเมืองในรูปแบบเดิมที่คนรุ่นเก่าที่ยังคงยึดติดกับกรอบความคิดที่ยังมีความล้าสมัย ซึ่งมีความแตกต่างจากคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดที่แตกออกไปจากมุมมองด้านเมืองในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้เติบโตมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมืองที่ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มนี้ เห็นได้จากการแสดงออกทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม จากกรณีการศึกษาความขัดแย้งระหว่างช่วงวัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดด้านการเมืองนั้น พบว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือการยอมรับและเข้าใจในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยในบทความนี้ผู้เขียนได้เสนอเป็น 2 ทางออกในการแก้ไขปัญหา ที่สอดคล้องวัฒนธรรมทางการเมืองโดยกระบวนปลูกฝังอบรมกล่องเกลาทางการเมืองผ่านสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาอีกด้วย Different ages group It may have many effects on people living together in society and growing up from different upbringing and environments. As a result, thoughts, feelings, and behaviors in living life are different. Combined with the current political situation that plays a role in every life of everyone in society. As a result, political views change according to each age group as well. Until causing a conflict from what is seen today with the demands of the new generation who do not agree with the old political ideas of the older generation who still cling to the existing ideas. obsolescence This is different from the new generation who have different views on cities in the past. These groups of people grew up with changes in political conditions that affected the lives of this group of people. This can be seen from their frequent political expressions. Until causing conflict in society from the case of studying conflicts between generations that cause differences in political thinking. It was found that the thing that should be given the most importance is acceptance and understanding of each other's differences. So that everyone in society can live together happily.References
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2564). สงครามเย็น (ใน) ระหว่างโบว์ขาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
กานต์พิชชา เก่งการช่าง. (2556). เจนเนอเรชั่นวายกับความท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล. วารสารสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 15-16.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2557). เจนวายคืออะไร. วันที่ค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/KouW13
แฟลชม็อบนักศึกษา ถึง ชุมนุมใหญ่ของ "คณะราษฎร 2563" ลำดับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2563. (2563). วันที่ค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-54741254
ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). ขอบข่ายและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามศาสตร์.
วสะ บูรพาเดชะ และอนันต์ โอสถศิลป์. (2563). การวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดและทัศนคติทางการเมืองระหว่างประชากรต่างช่วงวัย. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2548). Power gens branding. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.
ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่: จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2).
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ม็อบการเมืองคนรุ่นใหม่: จากแฟลชม็อบสู่คณะราษฎร 2563. วันที่ค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealthreport.com/th/situation_ten.php?id=41&y=2564&bm=6
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. (2557). สแกนคน 4 เจเนอเรชั่น. วันที่ค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จากhttp://swis.acp.ac.th/html_edu/acp/temp_informed/1514.pdf
อรวรรณ สว่างอารมณ์. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น: กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อรวรรณ สว่างอารมณ์. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น: กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 23(1).
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2562). คนรุ่นใหม่. วันที่ค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คนรุ่นใหม่