การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 จังหวัดชลบุรี

Authors

  • วิเชียร ตันศิริคงคล

Keywords:

การเลือกตั้ง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การเมือง, ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, พฤติกรรม

Abstract

          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ของจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆ จำนวน 8 เขตการเลือกตั้ง โดยพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองสำคัญ 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังชล ผู้มิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเลือกตั้งโดยลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองที่มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ทางการเมืองกับกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น          ในการเลือกตั้งมีการใช้กลไกหัวคะแนน หัวคะแนนมีบทบาทสำคัญในการจักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนให้กับผู้สมัคร บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศ ระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองกับกลุ่มเสื้อแดงความขัดแย้งดังกล่าวมีผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี มีผลทำให้เกิดพรรคพลังชล ผู้วิจัยจึงศึกษาในเขตการเลือกตั้งจำนวน 8 เขต ที่มีพื้นฐานคะแนนจัดตั้งทางการเมืองที่แตกต่างกันซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคพลังชลได้รับเลือก 6 ที่นั่งจากจำนวน 8 เขตการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งพรรคละ 1 ที่นั่ง ความสำเร็จของพรรคพลังชล มาจากปัจจัยสำคัญ คือ ความเกรงใจที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีต่อพรรคพลังชล และความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ภายใต้เครือข่ายการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี แม้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่จะมีความนิยมในตัวนโยบายของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม สังเกตได้จากคะแนนเสียงในระบบเขตเลือกตั้งที่มีความแตกต่างกับคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อ พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ที่ลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้ใด หรือโหวตโน มีผลต่อผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์           The general election held in July 3, 2011 in case of eight constituencies in Chonburi province. The researcher has studied the behavior of the voters and the candidates in each constituencies and came across that this general election in Chonburi is the arena of the competition among the candidates from three major political parties; Democrat Party, Pheuthai Party and Palangchon Party. The majority of Chonburi votes have tended to cast the ballots for the candidates who have associated with or affiliated to the political party which has the strong base in the local government; in term of the patron-client basic. During the election, most political parties have, as usual, the vote canvassers to mobilize the voters. Normally the effective canvassers are the local politicians; the head of village: Phuyaiban and the sheriffs: Krman. This research obviously shows that within the air of political conflict among the redshirt and the yellow shirt this political environment leaded to the formation of Palangchon Party and affectd the voting behavior of Chonburi voters. The election result is Palangchon Party gain 6 seats while Democrat Party and Pheuthai Party each receive one seat.  The success of Palangchon Party has mainly come from the voters consideration to the saga of Khumpluem family and the quid pro quo network among the upper tier and lower tier of local governments in Chonburi. The number of voters who vote for the Palangchon candidates in each constituencies are much lower than the ballots in its Party’s List box. Lastly the researcher has posted the observation about the number of the vote-no ballots are the vital factor that trigger to the loss of, at least, two candidates from the Damocrat Party.

Downloads