ผลกระทบจากพฤติกรรม “ป๋า” ของบุคลากรภาครัฐ

Authors

  • โชคชัย กมลนัตร์

Keywords:

พฤติกรรม, บุคลากรภาครัฐ, ผลกระทบ

Abstract

          การศึกษาเรื่อง ผลกระทบจากพฤติกรรม “ป๋า” ของบุคลากรภาครัฐเป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจและแรงผลักดันที่ทำให้บุคคลก่อเกิดพฤติกรรม “ป๋า” 2) ศึกษาพฤติกรรม “ป๋า” ของบุคลากรภาครัฐและผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารองค์กรที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม “ป๋า” และ 3) ศึกษาแนวทางจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารองค์กรที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม “ป๋า” ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) สำหรับการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มบุคลากรภาครัฐที่มีพฤติกรรม “ป๋า” ทั้งในส่วนที่มีการให้การอุปการะผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา ในแบบเดียวกับสามีภรรยา และในส่วนที่มีพฤติกรรมในการอุปการะแบบครั้งคราวกับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา จำนวนทั้งสิ้น 8 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการจำแนกประเภทข้อมูล (Typological Analysis) และการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparative Analysis)          ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจที่ทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรม “ป๋า” เกิดขึ้นจากต้นแบบของทั้งในส่วนของบิดา ผู้บังคับบัญชาและเพื่อร่วมงาน จากสภาพแวดล้อมด้วยคนที่มีกิ๊กเป็นสาวสวย หุ่นดี และจากสาวสวยที่พบเห็นได้งายตามสื่อต่างๆ ส่วนแรงผลักดันที่ทำให้เกิดพฤติกรรม “ป๋า” เกิดจากการแข่งขันหรือการเปรียบเทียบกับญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท ทั้งในเรื่องหน้าที่การงาน ฐานะทางเศรษฐกิจ ภรรยา ครอบครัวและเด็กป๋า ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญต้องการเอาชนะ 2) พฤติกรรม “ป๋า” มีจุดเริ่มต้นในช่วงอายุ ประมาณ 30 ปีต้นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม “ป๋า” เนื่องจากเป็นคนที่ชอบหญิงสาวหน้าตาดี จากสาเหตุของความใกล้ชิดและความพึงพอใจจากการที่ได้ทำงานร่วมกัน และจากสาเหตุที่ได้พบและพูดคุยกันจนถูกใจตามสถานที่เที่ยวกลางคืน และเป็นไปได้ยากที่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าวนี้ โดยพฤติกรรม “ป๋า ” ได้ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจแก่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ บางรายในเรื่องของภาระหนี้สิน เกิดผลกระทบทางสังคมแก่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ไปมีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและเกิดผลกระทบจากสังคมรอบด้าน สำหรับ “เด็กป๋า” ในบางราย ส่วนผลกระทบทาด้านการบริหารองค์กรนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญมักจะหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรม “ป๋า” กับคนในองค์กรเดียวกัน 3) แนวทางในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากพฤติกรรม “ป๋า” นั้น ควรเป็นการดำเนินการในเชิงป้องกัน เช่น การสร้างค่านิยมหลักในการมีสามีและภรรยาเดียวให้แก่สังคม สวนแนวทางในการจัดการผลกระทบ ที่มีต่อการบริหารองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกจิตสำนึกให้แก่บุคลากรภาครัฐในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและหลักธรรมาภิบาลในการดูแลปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาและการบริหารองค์กร           The study of the effect of “Sugar Daddy” behavior of the personnel in the government sector is the study in the way of qualitative research. Its goals are as follow:          1. The study is about the motivation and drive that cause the person to have “Sugar Daddy” behavior. 2. It is about the “Sugar Daddy” behavior of the government personnel, and the its impact to the economics, social, and the organization management that cause from “Daddy Sugar” behavior. 3. It is study for the trend of the effect management of the economics, social, and the organization management that cause from “Daddy Sugar” behavior. There are 8 key informants in this study, all of them are the personnel in the government sector who have “Daddy Sugar” behavior, there are both the ones who give permanent support and temporary support to the qualitative analysis method, by categorizing the data or it is called typological analysis, and comparative analysis.          From the study, it is found that: 1. The motivation that drive the personnel behavior to the “Daddy Sugar” originally grows from the role models like their father, their superior, and their colleagues; moreover, it also grows in the environment that the people surrounded by the beautiful girls are. The other drive motivation are from the comparison among the personnel’s relative, close friends, in the way of working status, financial status, family status, and mistress girl possess status. These motivations are all drives those push the key informants to compete each others. 2. “Daddy Sugar” behavior has originally begun to the men at the age around 30 years old, and the causes of that behavior are from many factors, perhaps they are the ones who prefer gorgeous girls, perhaps they have chance to be closed to the girls in the work places, or in the night clubs, and they can get along to each other. It is very rarely possible that the key informants will quit this behavior. This study shows the effects from “Daddy Sugar” behavior. It causes some key informants to get huge debt, and of course, it causes some mistress girl and some key informants to get the impact from the people around in the society. There are also the organization managerial effects but it is very less, because the key informants avoid the “Daddy Sugar” behavior from being seen by their colleagues. 3. There are trends of problem solutions of the financial and social effects that cause from “Daddy Sugar” behavior. Those trends are the procedure in the way of preventing; for example, it should be some principal value creation about couple honesty, and the other trend that manage the organization managerial effects is creating the conscious of moral, ethical, and merit to the personnel  in the organization.

Downloads