บทบาทของครอบครัวในสังคมเมืองต่อการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหว

Authors

  • ปิยะพิมพ์ กิติสุธาธรรม

Keywords:

ครอบครัว, สังคมเมือง, การปรับตัว, คนพิการ

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการยอมรับความพิการของคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาทั้งหมด 20 ราย โดยแบ่งออกเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 10 ราย และสมาชิกในครอบครัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 10 ราย          ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนของการยอมรับความพิการของคนพิการทางการเคลื่อนไหว แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะการรับรู้ เกิดขึ้นเมื่อคนพิการรับรู้ความจริงว่าตนเองต้องสูญเสียความสามารถทางการเคลื่อนไหวไปตลอดชีวิต 2) ระยะการเรียนรู้ เป็นระยะที่คนพิการเริ่มยอมรับกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คนพิการจะเรียนรู้ในการปรับตัว และเรียนรู้บทบาทใหม่ในชีวิตของตนเอง และ 3) ระยะการยอมรับ เป็นระยะของการปรับตัวและปรับจิตใจให้ยอมรับกับสภาพของการเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตไนสังคมได้อย่างปกติ           The research objective of this study was to explore stages mobility disabled people have to go through before accepting their disability. It highlighted how they adjust themselves physically, mentally, and socially after they have become disabled and how their family played a role in this process. Qualitative research methodology, namely, documentary research, observation, and in-depth interviews, were employed and utilized in twenty case studies (from 10 disabled informants and 10 family members).          The research result showed that these mobility disabled people went through three acceptance stages. First, the perception stage- that is, when a person acknowledges that he/she is being disabled for the rest if his/her lives. Second, the learning stage- that is, when a person learns to adjust to his/her new disability body . Third, the acceptance stage- that is, when a person accepts that he/she needs to interact with others and is able to live happily in the society.

Downloads