มโนทัศน์ฮาบิตุสกับการแก้ปัญหาทวินิยม โครงสร้างและตัวแสดง

Authors

  • รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข

Keywords:

มโนทัศน์, ฮาบิตุส, ทวินิยม, การแก้ปัญญา, โครงสร้าง

Abstract

         ปัญหาทวินิยมโครงสร้าง-ตัวแสดงเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันในทางสังคมศาสตร์มาเป็นเวลานาน กล่าคือ ในการอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม เกิดปัญหาว่าจากมุมมองเชิงตัวแสดงผู้กระทำการ มุมมองใดจะสามารถอธิบายได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ทางสังคมดำเนินไปโดยที่โครงสร้างและตัวแสดงต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ฉะนั้น การอธิบายด้วยมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงโครงสร้างและตัวแสดงเข้าด้วยกันจึงเป็นความพยายามสร้างคำอธิบายเพื่อทำความเข้ใจปรากฏการณ์และปฏิสัมพันธ์ที่ต่างมีต่อกันและกัน ปิแอร์ บูร์ดิเออ นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสได้สร้างมโนทัศน์ฮาบิตุสเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างและตัวแสดง โดยเสนอว่าฮาบิตุสเป็นปฏิบัติการที่อยู่ภายในปัจเจกบุคคล โดยฮาบิตุสจะแสดงให้เห็นถึงการกระทำให้เป็นภายในของปัจเจกภายนอก และการทำให้เป็นภายนอกของปัจจัยภายใน กระบวนการเหล่านี้จะถูกแสดงออกผ่านการปฏิบัติของตัวแสดง การที่ตัวแสดงแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันก็เนื่องจากทุนที่ตัวแสดงครอบครองและตำแหน่งที่ตัวแสดงดำรงอยู่ในสนาม โครงสร้างจึงมีอิทธิพลต่อตัวแสดงในฐานะที่เป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและแสดงออกของตัวแสดง ขณะเดียวกันตำแหน่งและสนาม รวมถึงการครอบครองทุนของตัวแสดงก็จะเป็นเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการที่ตัวแสดงจะตัดสินใจปฏิบัติการางอย่างด้วยตัวเอง ฉะนั้น ฮาบิตุสจึงเป็นมโนทัศน์หนึ่งที่สามารถอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างโรครงสร้างและตัวแสดงได้เป็นอย่างดี           The problem of the structure and agency dualism has been dabated in the social science for a long time. That is to say between structural and agency perspectives which perspective can explain social phenomena best? However, social phenomena are caused by the interaction of structure and agency. So, the explanation with the concept that link structure and agency together is the attempt to create the explanation to understand the phenomena and interaction with each other. Pierre Bourdieu, French Sociologist, create the habitus concept to link structure and agency. He proposes that habitus operates within the individual; habitus show the internalization of externality and the externalization of internality. These processes are showed through the practices of agent. The different behaviors of actors are due to the capital possession and their position in field. Thus, structures can influent to actors as external factor influencing the decision making and expression off their characters. At the same time, position, field and also capitals possession of actor are condition which affect to the decision of actor to conduct their practice by yourself. So, habitus is a concept that can explain the lingkage between structure and actor as well.

Downloads