กฎหมายพรรคการเมืองและผลกระทบต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพรรคการเมืองในประเทศไทย

Authors

  • พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์

Keywords:

กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, พรรคการเมือง, ผลกระทบ, โครงสร้างพรรคการเมือง, ประเทศไทย

Abstract

          ประเทศไทยมีกฎหมายพรรคการเมืองมาแล้วถึง 6 ฉบับ ซึ่งมีการใช้ในปี พ.ศ.2498ม 2511, 2517, 2524, 2541 และ 2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 และ 2550 แต่ละฉบับเน้นในเรื่องและสาระต่างๆ ที่อตกต่างออกไป งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบกฏหมายพรรคการเมืองทั้ง 6 ฉบับ ว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร และบทบัญญัติในกฎหมายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองในประเทศไทยอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฏหมายดังกล่าว และพรรคการเมืองของไทยให้มีความเข้มแข็ง และนำไปสู่ความเป็นสถาบันได้ในอนาคต          ผลจากการศึกษาพบว่า จากการที่ประเทศไทยมีกฏหมายพรรคการเมืองจำนวนหลายฉบับ แต่ดูเหมือนว่ากฏพรรคการเมืองไม่ได้นำมาซึ่งการพัฒนาพรรคการอย่างแท้จริง พรรคการเมืองในประเทศไทยหลายพรรคยังคงเกิดขึ้น และเลิกหรือโดนยุบพรรคไปในเวลาอันสั้น พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างแท้จริง แต่ยังคงเป็นฐานอำนาจในการสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทางการเมืองเท่านั้น สาเหตุที่กฏหมายพรรคการเมืองไม่อาจนำไปสู่กี่พัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันเนื่องจาก          1. ข้อบัญญัติในกฎหมายพรรคการเมืองเป็นการควบคุมพรรคการเมืองมากจนเกินไป จนทำให้พรรคการเมืองไม่ใช่องค์กรอิสระ แต่กลายเป็นองค์กรที่ถูกกำกับดูแลโดยภาครัฐ จากที่กล่าวไว้ข้างต้น พรรคการเมืองควรมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการของตนเองโดยอิสระ ภาครัฐไม่ควรเข้าไปควบคุมทุกกิจกรรมของพรรคการเมืองมากนัก ในการออกกฏระเบียบที่ควบคุมพรรคการเมืองมากจนเกินไปอาจทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การดูแลของรุฐ ไม่ใช่องค์กรค์อิสระที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้การออกกฏหมายยุบพรรคนั้นยิ่งทำให้พรรคการเมืองม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ต้องคอยระวังการดำเนินงานต่างๆ ไม่ให้ละเมิดข้อบังคับ ภาครัฐไม่ควรมีอำนาจในการยุบพรรคการเมืองมากจนเกินไป เพราะอำนาจในการยุบพรรคการเมืองนั้นทำให้พรรคการเมืองต่างๆไม่กล้าคิดริเริ่มหรือดำเนินการทางการเมืองได้อย่างเต็มที่เพราะเกรงว่าการดำเนินงานหรือกิจกรรมอาจนำไปสู่การยุบพรรคได้          2.  ความไม่ต่อเนื่องทางการเมืองเนื่องจากการรัฐประหารที่มีอยู่บ่อยครั้งในประเทศไทย ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเมื่อเกิดการรัฐประหารในแต่ละครั้งนั้น พรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการทางการเมืองใดๆต่อได้ กฎหมายพรรคการเมืองต้องถูกยกเลิกไป เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ก็มีการร่างกฎหมายพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางประการ พรรคการเมืองได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ดังนั้น พรรคการเมืองและกฎหมายพรรคการเมืองจึงไม่มีความต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการรัฐประหารทุกครั้งไป                 3.  ข้อบังคับในกฎหมายพรรคการเมืองไม่ได้กระตุ้นให้ประชาชนสร้างอุดมคติร่วมกับพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบ หรือกระตุ้นให้ประชาชนเข้าเป็นส่วนร่วมสมาชิกพรรคการเมือง และมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่กฏหมายพรรคการเมืองกลับให้ความสำคัญกับการตรวจสอบพรรคการเมืองเป็นสำคัญ พรรคการเมืองจะมีความมั่นคงและพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันได้นั้น บุคลากรหรือสมาชิกพรรคที่มีความจงรักภักดีต่อพรรคนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่กฏหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะในปัจจุบันไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาคนให้เป็นส่วนหนึ่งของพรรค แต่สมาชิกพรรค หรือบุคลากรภายในพรรคส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับบุคคลหรือผู้มีอำนาจในพรรคเท่านั้น เมื่อผู้มีอิทธิพลในพรรคลาออกจากพรรคหรือยุติบทบาทหน้าที่ของตนเองในพรรคแล้ว สมาชิก หรือบุคคลที่เคยทำงานให้พรรคมาก่อนก็อาจยุติหน้าที่ของตนเองตามบุคคลเหล่านี้เช่นกัน ดังนั้นจึงยากที่พรรคการเมืองจะมีความมั่นคง และดำเนินการทางการเมืองได้อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขาดบุคคลากรที่ทำงานเพื่อพรรคอย่างจริงจัง           Thailand has six organic laws on political parties which were promulgated in 1946, 1968, 1974, 1981, and 2007 respectively. Each law on political parties contains different details on how to push forward the development of party organization. This research, therefore, aims to compare and contrast these six organic laws on how these laws affect the development of Thai political parties. The results of this project would reveal the process to strengthen Thai political parties in the future.          The research outcomes show that although Thailand has six organic laws on political, these laws are marginally important for the advancement of political parties in the Thai politics. A large number of political parties did not survive across elections. Many major parties could not develop themselves to be institutionalized. Instead, they continue to be controlled by powerful political figures. Consequently, these organic laws on political parties did not lead to the stability of Thai parties. Three major reasons can explain the weaknesses of political parties due to the implementation of these six organic laws.          1.  Due to a large number of sections that limit the freedom of political parties, parties became the institution under the state control rather than an independent unit. These laws on political parties indicate many sections that control the freedom of operation in political parties. For example, political parties are required to report their incomes and express as well as their political activity to the election commission. This state control limits the freedom of political parties to act as an independent organization. Moreover, the section on the party dissolution restrains party’s activity. Many political parties carefully conducted their activities in order to prevent themselves to be dissolved by the constitutional court.          2.  Political parties could not develop due to a large number of military coups in Thailand. After each successful coup, military regimes abrogated existing constitutions and promulgated the new ones. Moreover, during the coup, political parties were required to abandon their political activities and many of them were dissolved. As a result, parties in Thailand could not continually develop themselves during the coup.          3.  The organic law on political parties does not motivate party member to be affiliated with the party. Rather, these laws aim to monitor the operation of parties. In order to stimulate party member and people to have a close relationship with the party. If people and party member have tightly knit relationship to the parties, this would lead to the durability and consolidation of political parties in Thailand

Downloads