การรับรู้และบทบาทของเทศบาลตำบลที่มีต่อการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี

Authors

  • สุพจน์ บุญวิเศษ

Keywords:

เทศบาลตำบล, ผู้สูงอายุ, การสงเคราะห์, ชลบุรี

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการับรู้ของผู้บริหารเทศบาลตำบลที่มีต่อการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาบทบาทของเทศบาลตำบลในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และบทบาทของผู้บริหารเทศบาลตำบล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ, อายุ, การศึกษา และประสบการณ์ทำงาน) ของผู้บริหารตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีที่มีบทบาทการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ตัวอย่างเป็นผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล สมาชิกสภาเทศบาลตำบล และปลัดเทศบาลตำบล จำนวน 270 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ (Frequency distribution) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-Way ANOVA เพื่อทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ระดับ .05 ทำการเปรียญเทียบรายคู่ภายหลังการทดสอบความแปรปรวน ด้วยวิธีการแบบ LSDกลุ่มตัวอย่างบางส่วนเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล มีประสบการณ์การทำงานที่ดำรงตำแหน่ง 3-4 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมหรือได้รับการศึกษาด้านสวัสดิการสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานหรือเคยเป็นอาสาสมัครในการทำงานด้านสวัสดิการหรือสังคมสงเคราะห์มาก่อน      การทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้บริหารเทศบาลตำบลในบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชนพบว่าเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานที่ดำรงตำแหน่งอยู่ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน  2) ผู้บริหารเทศบาลตำบลในบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชนบทบาทการจัดสวัสดิการโดยรวมและรายด้านจำแนกตามอายุไม่แตกต่างกัน และ 3) ผู้บริหารเทศบาลตำบลในบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชนบทบาทการจัดสวัสดิการโดยรวมและรายด้านจำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05           This research aims to study perception of executives in Sub-district Municipals on the elderly welfare in the region of Chonburi Province, to study role of Sub-district Municipals on the elderly welfare in the region of Chonburi Province, and to compare perception and role of Sub-district Municipals on a basis of individual data (Gender, age, education, and working experience) of executives in Sub-district Municipals on the elderly welfare in the region of Chonburi Province. Executives having a responsibility on the elderly welfare are consisted of mayors of Sub-district Municipals, members of Sub-district Municipals, and deputies of Sub-district Municipals totally 270 executives. Statistics used for analysis are frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis is tested by t-test and one-way ANOVA to compare means of independent factors by setting a significant value in analysis at .05, and to compare each pair after testing variance by using the LSD method.          Samples answering questionnaire are mostly male are mostly aging between 41-50 years old, are mostly graduated at bachelor, are currently being members of Sub-district Municipals, have working experiences around 3-4 years, have mostly never attended training courses or studying social welfares or social works and mostly have no experiences in volunteers in social welfares or social works.          A hypothesis test finds that (1) the role of executives of Sub-district Municipals in responsibility for local administrative organization, in arranging welfares for the elderly in community, and in arranging welfares in totally and in gender are not different; (2) the role of executives of Sub-district Municipals in responsibility for local administrative organization, in arranging welfares for the elderly in community, and in arranging welfares in totally and in age are not different; (3) the role of executives of Sub-district Municipals in responsibility for local administrative organization, in arranging welfares for the elderly in community, and in arranging welfares in totally and in educational levels are significantly different at .05

Downloads