มาตรการทางกฎหมายเพื่อการควบคุมการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นธรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรของไทย

Authors

  • ธนพัฒน์ เล็กเกียรติขจร
  • อรรัมภา ไวยมุกข์
  • เอกพล ทรงประโคน
  • ศิริศักดิ์ จึงถาวรรณ

Keywords:

ทรัพย์สินทางปัญญา, เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร, พันธุ์พืช, การคุ้มครอง

Abstract

          ภายหลังการค้นพบโครงสร้างสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอในปี ค.ศ.1953 เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมากในภาคการเกษตร เนื่องจากสามารถช่วยปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพัฒนาพันธุ์พืชให้มีผลผลิตที่มากขึ้นและตอบสนองความต้องการแก่พลเมืองที่ยากจนได้ เพื่อสร้างจูงใจให้ผู้วิจัยและผู้ค้นพบทางเทคโนโลยีชีวภาพนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องนวัตกรรมหรือการค้นคว้าเหล่านั้น อย่างไรก็ตามสิทธิต่างๆที่เกิดขึ้นจากระบบทรัพย์สินทางปัญญาในเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรนั้นอาจจะทำให้ผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิเด็ดขาดของตนอย่างไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะมีข้อยกเว้นของทรัพย์สินทางปัญญาในหลายๆ ประการเพื่อจำกัดการผูกขาดในสิทธิบัตรหรือสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิของผู้ทรงสิทธิ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งคุณค่าของมนุษย์และสังคมด้วยงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักสามประการ คือ ประการแรกเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เป็นธรรมในด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ประการที่สอง เพื่อสำรวจมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องรวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของมาตรการดังกล่าว และประการสุดท้าย คือ การนำผลการศึกษาที่ได้รับจากงานวัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงนโยบายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาในภาคการเกษตรของประเทศไทยต่อไป           Following the discovery of the structure of DNA in 1953, biotechnology plays an important role in the agricultural sector. It helps to improve animal production and develop more productive crop varieties to meet the needs of the poorest. To encourage researchers and inventors in this area, the intellectual property comes here to protect their inventions. However, the rights conferred by the system of intellectual property in agricultural biotechnology potentially allow the holders to misuse the rights. Thus, it is necessary to provide exceptions to the rules of intellectual property that limit the monopoly of patent or plant breeders’ rights in order to balance the rights of the owner, public interest, human and social values. This research focuses on three main objectives; Firstly, examination of the impact of the improper application rights of intellectual property in agricultural, biotechnology sector, secondly, observation of current legal measures of Thailand involved including their strengths and weaknesses, and finally using the results gained from the research as primary information for the revision of legal provision concerned and for the IP policy improvement in agricultural sector of Thailand.

Downloads