ข้อสังเกตเกี่ยวกับความรับผิดทางกฎหมายฐานหมิ่นประมาท: กรณีศึกษาการกระทำความผิดในสังคมออนไลน์

Authors

  • บุญยศิษย์ บุญโพธิ์

Keywords:

ความรับผิด, กฎหมาย, หมิ่นประมาท, เครือข่ายสังคมออนไลน์, ความผิดฐานหมิ่นประมาท

Abstract

          ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดทั้งในทางเพ่งและทางอาญา แต่ในปัจจุบันพบการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทได้มีรูปแบบการกระทำความผิดในรูปแบบที่ซับซ้อนและเจริญก้าวหน้าตามเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนบางครั้งทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในข้อกฎหมายยังมีช่องว่างที่ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ เช่น การกระทำความผิดในสังคมออนไลน์ แม้ปัจจุบันจะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ก็ตามแต่ข้อความในมาตรา 14 และ 16 ก็ยังคงมีช่องว่าที่ไม่สามารถบังคับใช้กับผู้กระทำความผิดได้ ผู้ทำวิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาว่าควรให้มีการแก้ไขกฎหมายในมาตรา 14 และ 16แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ไว้ด้วยเพื่อเป็นการอุดช่องว่างของกฎหมายและก่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย           Defamation is attributable to both civil and criminal liabilities. Currently, however, violations of pertinent provisions are complicated because of the development of advanced technology. Applicable legislations are not practically enforced to react upon offenders due to the problem of gap-in-law where offenders may not be punished. Despite the enactment of Computer Crimes Act, B.E. 2550, sections 14 and 16 have left certain loopholes, which satisfy those wrongdoers. This research provides especially the solution that the section should be amended for the sake of efficient and effective enforcement of such legal mechanism.

Downloads