The Bangkok neighborhood watch program: Citizen perspectiveson metropolitan police = โครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน: มุมมองของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล
Keywords:
โครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน, Dwellings, Safety measures, ที่อยู่อาศัย, มาตรการความปลอดภัยAbstract
โครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ความสำเร็จของโครงการสามารถวัดได้จากการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งได้แก่ 1. การเป็นหูเป็นตาซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนด้วยกันเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน 2. การที่ประชาชนมีความสามารถในการรายงานเบาะแสของอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลเมื่อเกิดเหตุในการนี้ ความสำเร็จของโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้านจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างความเชื่อมั่นและความรู้สึกพึ่งพาได้ของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล สำหรับในการศึกษานี้ได้บูรณาการการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน สำหรับในขั้นตอนแรกการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณนั้นได้ดำเนินการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 1. ตัวแปรการเข้าร่วมโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน และตัวแปรระดับความเชื่อมั่น และ 2. . ตัวแปรการเข้าร่วมโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้านและตัวแปรระดับความรู้สึกพึ่งพาได้ สำหรับในขั้นตอนที่สอง ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างละเอียดเพื่อศึกษาว่าเมื่อระดับความเชื่อมั่นและระดับความรู้สึกพึ่งพาได้สูงขึ้น จะสามารถเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้านได้หรือไม่ และอย่างไร ในการนี้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจากกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง 3 กลุ่มในการดำเนินโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองบัญชาการตำรวจนครบาล, เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์, และกรรมการหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้าน ซึ่งในการศึกษาพบว่าความเชื่อมั่นและความรู้สึกพึ่งพาได้ของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล สามารถผลักดันให้โครงการฝากบ้านกับเพื่อนบ้านในความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาลประสบผลสำเร็จดียิ่งขึ้น The Neighborhood Watch Program is under the responsibility of the Bangkok Metropolitan Police Bureau. The success of the program is measured by attaining the objectives of the program, which are (1) citizen-to-citizen and citizen-to-police can be eyes and ears for each other and (2) citizen has the ability to effectively report crime or suspicious cases to police. In the regard, the achievement of the Bangkok neighborhood watch program can be attained by building confidence and reliance on Metropolitan Policeman. In the study, both qualitative and qualitative analyses are employed, which are separated into two stages. First stage, qualitative analyses is used for testing the relationship between (1) participating in the program and confidence and (2) participating in the program and reliance. Next stage, information in-depth interview is thoroughly analyzed whether confidence and reliance can increase the opportunity of the program achievement or not. In this matter, information of this qualitative analyses is sought from three key persons of the program: the executives of the Bangkok Metropolitan Police Bureau, community-relation policeman, and committees of the participated villages. This inquiry finds that confidence and reliance in police can support the achievement of the Bangkok Neighborhood Watch ProgramDownloads
Issue
Section
Articles