แนวคิดเบื้องต้นของการจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศกับการพัฒนาประเทศไทย

Authors

  • โอม ฉัตรนนท์

Keywords:

น้ำ, การจัดการน้ำ, ความร่วมมือระหว่างประเทศ, การพัฒนาประเทศ

Abstract

          แนวคิดหลักในการจัดการทรัพยากรน้ำและความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย เช่น ในล่มแม่น้ำโขงได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดการพัฒนาในประชาคมโลกอันมีแนวคิดการพัฒนาให้ทันสมัยตามแนวคิดทางตะวันตกและสถาบันระหว่างประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน ขณะที่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา รัฐไทยและเพื่อนบ้านมีการพัฒนาโดยอาศัยความช่วยเหลือจากทางต่างประเทศเป็นสำคัญ เมื่อแนวคิดในระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีการผสมผสานแนวคิด เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการน้ำที่เน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้นผ่านโครงการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆ จนเกิดเป็นแนวคิดกระแสหลักในการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ แม้ว่าจะยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก เนื่องจากความแตกต่างของผลประโยชน์และการขาดกลไกที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังในประเทศลุ่มแม่น้ำ           The key concepts in water resources management both in domestic Thailand and international cooperation in the Mekong Basin have been affected by changes of development trend in international community. This development has been typically driven by modernization which is based significantly on foreign aids. Nevertheless, the emergence of concepts such as sustainable development and water governance emphasizing more participation of non-state actors in international society have been gradually prominent and brought about a main stream concept of integrated water resource management to Thailand and the Mekong Basin. However, different interests and lacking of a strong mechanism those principles still have hindered their implementation in the countries.

Downloads