ความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่นในการสร้างการเกษตรแบบยั่งยืนและการสร้างพลังของชุมชนในอำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Keywords:
เกษตรกรรมแบบยั่งยืน, อินโดนีเซีย, การพัฒนาการเกษตร, การพัฒนาแบบยั่งยืนAbstract
การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนเป็นแนวทางที่จะพัฒนาความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งแนวทางนี้สามารถนำมาใช้ในการตอบคำถามเกี่ยวกับการเสื่อมถอยในบริบทด้านธรรมชาติและด้านสังคม โดยมีสาเหตุมาจากการปฏิวัติเขียว โดยแนวทางการพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงการพัฒนาทางด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน ในแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถึงความสามารถของเกษตรกร โดยเกษตรกรเป็นตัวหลักในภาคการเกษตรซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแผนงานด้านการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาลท้องถิ่นมาลัง ซึ่งได้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในเขตนี้และยังนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรอีกด้วย ผลจากการวิจัยนี้พบว่า การพัฒนาด้านการเกษตรที่ดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการดำเนินการพัฒนาการเกษตรแบบไม่ยิ่งยืน นอกจากการปฏิวัติเขียวในเขตพื้นที่นี้ยังคงใช้สารเคมีมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรมากกว่าการใช้สารอินทรีย์ที่ช่วยรักษาธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนงานด้านการพัฒนาการเกษตรจำนวนมากที่ไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกร ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นมักจะมีการให้ทุนเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรมากกว่าการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายปัจจัย เช่น การมีกรอบกติกา กฎหมายที่ชัดเจน และโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในเขตนี้ เช่น การขาดความรู้และความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าทีรัฐ ความร่วมมือในหมู่เกษตรกรเอง รวมถึงด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมของเกษตรกรอีกด้วย Sustainable agriculture development is a sustainable development approach in the field of agriculture sector which requires the economic, social, and environmental aspect to be considered equally in order to ensure the next generation’s ability in fulfilling their needs. This approach is implemented to answer the degradations both in terms of natural and social caused by the implementation of green revolution. The approach has a close relation to farmer empowerment where the farmer as the main actor in agriculture sector needs to be developed in order to increase human resource quality and also to be more independent. This research is conducted with the purpose to know whether the agriculture development programs that has been conducted by Local Government of Malang District has supported the practice of sustainable agriculture development in this district and also has led to farmer empowerment. The result of this research showed that most of the agriculture development programs that conducted by this local government more emphasize on the implementation of non-sustainable agriculture development. In addition, the green revolution is still implemented in this district by using more chemical input to increase agricultural production than using organic input that can preserve the nature. Furthermore, there are still many agriculture development programs that did not led to farmer empowerment, even had a high potential in increasing farmer’s dependency toward local government by giving many grants than providing transfer of knowledge activities. The implementation of sustainable agriculture in this district has supported by several factors such as clear legal frameworks and sufficient infrastructures. However, there are also many factors that inhibit the implementation of sustainable agriculture development in this district such as lack of governmental employee’s commitment and knowledge, also cooperation among them; and also socio-cultural of the farmers.Downloads
Issue
Section
Articles