หลักเกณฑ์และแนวทางที่เหมาะสมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

Authors

  • สุพร บัวทอง

Keywords:

ประชาพิจารณ์, รัฐธรรมนูญ

Abstract

            การศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เหมาะสมนั้น ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา ระเบียบ กฎหมาย และร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่านมา กับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น พ.ศ. 2548 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่านมา โดยการนำเอาข้อดีของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในต่างประเทศเข้ามาช่วยในการศึกษา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสำหรับประเทศไทย            ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมุ่งที่จะให้มีการออกกฎหมายระดับ “พระราชบัญญัติ” เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่ชัดเจน บัญญัติถึงหลักการแนวทางที่เหมาะสม โดยนำหลักการปกครอง คือ “หลักแห่งความได้สัดส่วน” (Principle of Proportionality) มาเป็นแนวทางในการบัญญัติหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ชัดเจน และเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมีประสิทธิภาพ ทำให้มีมาตรการบังคับใช้ทุกฝ่าย ตลอดจนทำให้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีผลบังคับ (Self-Executing) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ            This research work is to analyze the principles and procedure for the public consultation appropriate by way study of the previous regulations, law, draft Bills relating to public consultation and the prevailing Rule of the office of the Prime Minister on the hearing public opinion on public hearing B.E. 2539 (1996) and Rule of the Office of the Prime Minister on Public Consultation, B.E. 2548 (2005), as well a study of the problems and impediments in the public consultations in the past experience. The precedents and positive repercussions of the public consultation in foreign countries are cited in support of the critical analysis of the author with a view to The principles and Appropriate Modality for Public Consultation Process in Thailand.            So study to be aimed to have issuing law in level of have law in level of “act provided by Parliament and signed by the King” to have clearly central law which enacts an appropriate principle, Way by bringing the administrative principle namely “Principle of Proportionality” as a way of enactment of clearly and appropriate rule, procedure, step for using the administrative power according to an opinion listening procedure of people to have efficiency and it makes to have a measure to be enforced to very sectors included it makes the right in expression one’s opinion of people in accordance with provisions of law of Constitution to have self-executing as intention of Constitution

Downloads