การประเมินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: แนวคิด 3 P

Authors

  • บุญสม หรรษาศิริพจน์

Keywords:

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, การประเมิน, สินค้าไทย, OTOP

Abstract

            ในการศึกษา การประเมินโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ แนวคิด 3 P มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อเสนอปัจจัยความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2) เปรียบเทียบแนวคิด 3 P ที่นำไปสู่ปัจจัยของความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม ในกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ (Produce) กลุ่มข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ (Public Authority and Government Officer) และกลุ่มประชาชน (People) ขนาดตัวอย่างจำนวน 1,838 ตัวอย่าง            จากการศึกษาพบว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการที่มีความสำเร็จ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงค่าเฉลี่ยในมิติทางด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์พบว่าบรรลุในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพการประเมินโครงการการบรรลุตามเป้าหมายของโครงการ คือ สร้างงานให้ประชาชน ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติในการประเมินความสำเร็จทั้ง 3 กลุ่ม (Public official, Producer, People: 3 P) มีแนวคิดสอดคล้องกัน คือ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีความสำเร็จในระดับมาก โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ และระดับกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับประโยชน์            One Tumbon One Product Evaluation: 3 P, in order to 1) analyze success factors to One Tumbon One Product Project. and 2) Compare attitude of success factors 3 Concepts are produce public office and people: 3 P. This study used secondary data and surveyed data on One Tumbon One Product Evaluation sample size 1,838 sample, which composed 3 groups: the first group is producer, the second group is public officer and the third group is people.            This research finding The project One Tumbon One Product evaluation is success level importance. Mean value presents for accomplishment compose, people’s participant in creating jobs and income, strengthen communities, local wisdom promotion to value added in market, and human resource development promotion. Moreover conclusion of 3 P are the key success of The project One Tumbon One Product, are national policy, government leader pay attention to project, Integrative of public policy. Addition success factors is integrative implementation.

Downloads