แนวทางและกิจกรรมการสร้างความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพในระดับคณะระหว่างหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • ธีระ กุลสวัสดิ์

Keywords:

ประกันคุณภาพ, ประกันคุณภาพการศึกษา, ความร่วมมือทางการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

          การวิจัย เรื่อง แนวทางและกิจกรรมการสร้างความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพในระดับคณะ ระหว่างหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ เพื่อประเมินแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย และศึกษารูปและวิธีการสร้างความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพในระดับคณะกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงจัดการประชุมกลุ่มพัฒนาความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ในลักษณะการจัดทำบันทึกข้อตกลงด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการดำเนินงานวิจัย 3 ส่วน ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากจำนวนผู้ให้ข้อมูลหลัก 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวทางสัมภาษณ์แบบสรุปผลการวิจัย ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปในปัจจุบัน การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะนั้น สามารถแสวงหาความร่วมมือทั้งทางด้านการบูรณาการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับประเมินตนเอง การเขียนรายงานและรวบรวมเอกสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยต้องมีการสร้างความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างนโยบายด้านความร่วมมือระหว่างบุคลากร ที่นำไปสู่การเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานในระดับคณะที่ต่างมหาวิทยาลัยกัน โดยควรเริ่มตั้งแต่ 2 คณะขึ้นไปก่อน เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ ความเข้าใจ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างคณะทางด้านการศึกษารูปแบบและวิธีการสร้างความร่วมมือตามแนวทางการประเมิน CIPP ในด้านบริบทปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เพื่อพัฒนาระบบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 10 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน การแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนอาจารย์ที่จะศึกษาในระดับปริญญาเอก การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทยร่วมกัน การจัดให้อาจารย์ได้ทำงานวิจัยร่วมกัน การจัดอบรมสัมมนาด้านการประกันคุณภาพร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดเอกสารการประเมินตนเอง SAR การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนรายงานการประเมินตนเอง SAR และ การร่วมกันจัดประชุมวิชาการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา          This research on activities and guidelines for collaboration to education quality assurance (EQA) faculty level between faculties outside the university aims to study the environment on educational quality assurance in the faculty level in order to evaluate the guidelines and activities for promoting the collaboration on quality assurance in the faculty level with the outside organizations and to study format and methods for building the cooperation on educational quality assurance in the faculty level with outside organizations. In addition to hold the meeting of the development group for the cooperation on educational quality assurance in the aspect of documenting the agreement on educational quality assurance in the faculty level with outside organizations. This study is a qualitative research with 3 parts of research processes including documentary research, in-depth interview, and focus group conducted with 17 key informants. The tools used in this research were synthesis form for related documents, interview guide, and research conclusion form by analyzing the content.          The results showed that, in the current environment, educational quality assurance in the faculty level is able to seek for the collaboration on knowledge integration, exchanging and learning on the methods of self-assessment, reporting and documentation on educational quality assurance through the building of the collaboration on educational quality assurance emphasize on establishing the policy enabling personnel to have collaboration and connecting the good relationship among at least two organizations in the faculty level from different universities in order to contribute integration on knowledge and understanding as well as exchanging on learning in the educational quality assurance system of the faculty by studying on the formats and methods for building the collaboration on educational quality assurance in the faculty level with outside organizations according to CIPP assessment. This showed the important points on the context of input factors, processes, and products that must be emphasized leading to the collaboration on educational quality assurance. The collaboration on educational quality assurance was consisted of 10 major activities to develop educational quality assurance system to be more efficient. Including hosting international academic meeting for exchanging knowledge and learning, exchanging teachers, exchanging students for mutual learning, exchanging teaches who were studying in Doctoral Degree, holding the activities for creating Thai culture, tradition, and local wisdom, managing teachers form other countries to conduct the research together, hosting the training and seminar on mutual quality assurance and learning exchange, documenting self-assessment (SAR), learning exchange and self-assessment (SAR) report, and mutually hosting the academic meeting on educational quality assurance.

Downloads