การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Keywords:
ยาเสพติด, ยาเสพติด - - การควบคุม - - การมีส่วนร่วมของประชาชน, องค์การบริหารส่วนตำบล - - ไทย - - ราชบุรีAbstract
การศึกษาเรื่อง “ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้ายาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดน ไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราขบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่งปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมนอกองค์การ ปัจจัยพื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดน ไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ประชากรที่เป็นผู้บริหารและสมาชิขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 90 คน และ 2) ประชากรที่เป็นประชาชน จำนวน 380 คน จำนวน 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลท่าเคย และตำบลตะนาวศรี ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้ายาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ไม่ปรากฎว่ามีการลำเลียงแลลักลอกค้ายาเสพติดจากประเทศพม่าเข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณแถบนี้ 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (To Inform) รองลงมา ได้แก่ การให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม (To Collaborate) การรับฟังความคิดเห็น (To Consult) การให้ประชาชน เข้ามาเกี่ยวข้องในการวางแผนและตัดสินใจ (To Involve) และการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน (To Empower) 3) ปัจจัยทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดน ไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ และปัจจัยพื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลหรือไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่ววนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มี 2 ตัวชี้วัดได้แก่ นโยบายขององค์การและการบริหารองค์การ The objective of study “People’s participation in the prevention and resolution towards drug abuse of sub district administrative organizations in the vicinity of Thai – Burmese Border, Suanphueng District, Ratchaburi Province. ” is to study 1) The problems and drug trafficking routes in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphueng District, Ratchaburi Province. 2) People’s participation in preventing and solving the drug abuse of the sub district administrative organization. 3) The factors of the relationship of the internal and external environment of the organization, mobilization of people participation and people’s participation and 4) The factor effecting people’s participation in preventing and solving the drug abuse in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphueng District, Ratchaburi Province, using the process of integration research, quantitative research and qualified research. The samplings are (1) 90 administrators and members of sub district administrative organization and (2) 380 people in 4 sub districts; Suanphueng, Pavai, Ta keiy, Tanowsri. The result of the study is (1) the drug trafficking and trading are not found in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphueng District, Ratchaburi Province. (2) people’s participation in preventing and drug trafficking routes in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphueng District, Ratchaburi Province is high with the highest point of indicators: to inform people and a bit less: to have people collaborated and consulted, involved, and to empower people (3) to analyze the relationship of internal and external environment of the organization and fundamental factor of people’s participation in preventing and solving the drug abuse and drug trafficking routes in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphueng District, Ratchaburi Province and (4) The result of the study is that there is statistical means of 0.05 with 5 indicators; that is, organization culture, organization structure, leadership of administrator, internal and external environment of organization and fundamental factor of people’s participation, but the factor not effecting or nor influencing towards people’s participation in preventing and solving drug abuse in the vicinity of Thai – Myanmar’s border in Suanphuneg District, Ratchaburi Province has got 2 indicators: the policy and administrative of organization.Downloads
Issue
Section
Articles