อิทธิพลของรูปแบบการเลี้ยงดูต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Authors

  • จิราพร วรแสน

Keywords:

ความซึมเศร้า, ความซึมเศร้าในวัยรุ่น, บิดามารดาและวัยรุ่น, เด็ก - - การเลี้ยงดู

Abstract

วิธีการเลี้ยงดูบุตรของบิดามารดา ที่ต้องอบรมเลี้ยงดู แนะนำ และสอนระเบียบวินัยแก่เด็กอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุตร ภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบมากในวัยรุ่น ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการเลี้ยงดูต่อภาวะซึ่มเศร้าของนักเรียนโดยเน้นศึกษาในนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่แวดล้อมด้วยมลพิษ มีชีวิตเร่งรีบและการแข่งขันสูง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 287 คน ทำการเก็บตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม รูปแบบการเลี้ยงดูที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ประกอบด้วย การเลี้ยงดูแบบเข้มงวด การเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีของเขต การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และการเลี้ยงดูแบบยอมตามบุตรผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 36.2 การเลี้ยงดูแบบเข้มงวดส่งผลให้คะแนนภาวะซึมเศร้าสูง และการเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขต ส่งผลให้มีคะแนนต่ำ และสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมีภาวะซึมเศร้าสูง นักเรียนได้รับการเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขตมีภาวะซึมเศร้าต่ำ และรูปแบบการเลี้ยงดูทั้งหมด สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึ่มเศร้าของนักเรียนได้ร้อยละ 27Pareting approaches that guardian use to guide their children and control their discipline may influence their mental health. According to that, the appearing of depression is also found in youths' mental health. This study examines the influence of different parenting styles on youth's depression especially students who are living in thecentral city urban area it is extremely high population density, hasty life style and high competitive behavior. The study classified the parenting style into four types including authoritarian, authoritative, neglectful and indulgent. The 287 samples were drown from the grade tenth-twelfth in The Demonstration School of Ramkhamhaeng University, Bangkok Thailand.The findings showed that 36.2 percent of the sample has a depression. The authoritarian parenting style presented a high depression scores, whereas authoritative parenting style was low. Therefore, students who treated by authoritarian parenting style had a high depression and students who were treated by authoritative parenting style had a low depression. Overall, parenting styles can be predicted the student's sepression by 27 percent.

Downloads