การศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย: วิเคราะห์ตัวแบบพหุกระแสและการนำไปใช้.
Keywords:
นโยบายสาธารณะ, ตัวแบบพหุกระแสAbstract
การศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย ยังคงเป็นที่นิยมของนักวิชาการต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับในไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ยังจำกัดวงแคบ และใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดนโยบายเท่านั้น ซึ่งตัวแบบที่นิยมนำมาใช้ คือ ตัวแบบพหุกระแส (Multiple Streams Model) ของ จอห์น คิงด็อน (John W. Kingdon) บทความได้รวบรวมและวิเคราะห์การศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย โดยใช้ตัวแบบพหุกระแสในการวิเคราะห์รวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การที่จะนำตัวแบบพหุกระแสไปใช้จะต้องวิเคราะห์ถึง "ความโน้มเอียงทางสังคม" (Societal Predispostion) ก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมานำตัวแบบพหุกระแส (กระแสปัญหา กระแสการเมือง กระแสนโยบาย) มาวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนสำคัญต่อการเข้าสู่วาระนโยบาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ว่าใครเป็นผู้ผลักดันนโยบาย (Policy Entrepreneurs) มีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อนโยบาย เป็นลำดับสุดท้าย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษางานวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ พบได้ ข้อสรุปร่วมที่น่าสนใจ คือ ในกระบวนการเข้าสู่วาระนโยบายโดยทั่วไปแล้วจะมีกระแสปัญหาและกระแสการเมืองจะเป็นกระแสเข้าคู่กันและจะต้องมีอีกกระแสหนึ่ง ก็คือ กระแสนโยบายเป้นกระแสคู่ขนาน และเกิดหลังจากการเข้าคู่ดังกล่าวด้วย จึงจะทำให้หน้าต่างนโยบายเปิดออกและเข้าสู่วาระการตัดสินใจ (Decision Agenda) ซึ่งหากเทียบเคียงกับบริบททางการเมืองไทยแล้ว จะหมายถึงกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเข้าสู่วาระนโยบายของไทยStudies on policy agenda setting has long been popular among American scholars; however, in Thailand, it is still limited in a narrow range and is only used as a part of analysis of the policy formulation process. The model of John Kingdon's Multiple Streams Model has regularly been selected.The vital aim of this article is to collect and analyze various cases of studies on policy agenda setting, mainly used John Kingdon's Multiple Streams Model. This study leads to the conclusion that John Kingdon's Multiple Streams Model (problems stream, political stream, policies stream) primarily requires analysis on "Societal Predisposition" and roles of "Policy Entrepreneurs".Nonetheless, there are some interesting correlations found both in Thai and foreign papers used in this article: in the policy agenda setting process, problems stream and politics stream should co-operatively emerge, while running pararell with policies stream, in order to open the policy window and reach the decision agenda. Comparing with the political context in Thailand, the decision of the Cabinet is the final step of the process to the agenda setting.Downloads
Issue
Section
Articles