ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก.

Authors

  • สุรีย์พร สลับสี

Keywords:

พฤติกรรมการเลือกตั้ง, การเลือกตั้ง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักศึกษา - - กิจกรรมทางการเมือง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้ง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณณี และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธี Pearson และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยปรากฎว่า1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป้นเพศหญิง มีอายุ 20 ปี ศึกษาในสาขาวิชากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 มีระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.14)2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับเกณฑ์ พบว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการเปิดรับข่าวสารทางการเมือง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .653 .620 และ .524 ตามลำดับและ 3) ผลวิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้ง มีตัวพยากรณ์ 3 ตัว ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารทางการเมือง (C)การกล่อมเกลาทางการเมือง (A) และความโน้มเอียงทางการเมือง (B) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตาม คือ ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้ง ได้ร้อยละ 58.9 โดยมีสมการพยากรณ์พฤติกรรมการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก ดังนี้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y = -.424 + .477(C) + .450(A) + .203(B)สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือZ = .409(C) + .387(A) + .162(B)The objectives of this research were to study the level of voting behavior, study the factors that influencing voting behavior and study the relationship with the factors of political socialization, political orientation, and political information exposure influencing undergraduate student's voting behavior in the Eastern region university. The samples were 600 undergraduate students from Burapha University, Rajamangala University of Technology Tawan-ok (Bangphra Campus), Sripatum University (Chonburi Campus), RambhaiBarniRajahat University and Rajabhat Rajanagarindra University. The samples were drawn from a simple random sampling method. Data were collected by using a questionnaire and analyzed by descriptive statistics, Pearson Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings of research were:(1) Most of undergraduate students who answer questionnaire were female with 20-year-old, currently studying in humanities and social science on the fourth year. With regrad to the level of voting behavior found that the undergraduate students in the Eastern region university were at the moderate level. (X=3.14)(2) The correlation between political socialization, political orientation, and political information exposure and undergraduate student's voting behavior in the Eastern region university were statistically significant at .01 level with correlation coefficients were .623, 620 and .524, respectively.And (3) The result of Stepwise Multiple Regression Analysis found that political information exposure (C), political socialization (A), and political orientation (B) were the good predictions in forecasting the level of voting behavior, statistically significant at level of .01 The variations can be explained the level of voting behavior was 58.9 percent. The prediction equations of undergraduate student's voting behavior in the Eastern region university were:Prediction equation of voting behavior with raw scores wasY = -.424 + .477(C) + .450(A) + .203(B)Prediction equation of voting behavior with standard scores wasZ = .409(C) + .387(A) + .162(B)

Downloads