บทบาทของสถานีวิทยุผู้กล้าประชาธิปไตย 90.25 Mhz สมุทรปราการในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองปี 2553
Keywords:
สถานีวิทยุผู้กล้าประชาธิปไตย, สื่อมวลชนกับการเมือง, สถานีวิทยุ - - กิจกรรมทางการเมือง, การเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองAbstract
การวิจัย เรื่อง บทบาทของสถานีวิทยุผู้กล้าประชาธิปไตย 90.25 Mhz สมุทรปราการในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ผลการสึกษาพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรม สถานีวิทยุผู้กล้าประชาธิปไตย 90.25 MHz กับมวลชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีข้อค้นพบกิจกรรมหลัก ๆ คือ กิจกรรมการเชิยชวนร่วมฟังปราศรัยของแกนนำในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และกิจกรรมเชิญชวนการโฟนอิน (Phone In) ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนี้ ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้จักรายการวิทยุหรือผู้เป็นผู้นำที่สามารถมีบทบาทสำคัญต่อสมาชิกหรือมวลชนในระดับหนึ่ง เนื่องจากจะต้องมีประสิทธิภาพในการชักจูง โน้มน้าวในประเด็นต่าง ๆ ที่ใช้ตัวสาร (Message) หรือการสื่อสารที่โน้มน้าวใจการจัดรายการให้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบกับผลพวงของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ในการเชื่อมสัญญาณจากการโฟนอิน (Phone In) ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จากเวทีกลางของกลุ่ม นปช. 2) บทบาทของสถานีวิทยุผู้กล้าประชาธิปไตย 90.25 MHz สมุทรปราการในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ บทบาทของกลุ่มบุคคลซึ่งคือ ผู้จัดรายการสถานีวิทยุและบทบาทของสถานีวิทยุในการร่วมการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งบทบาทผู้จัดรายการทั้งผู้อำนวยการสถานี และผู้จัดรายการ มีส่วนร่วมในการสร้างความเชื่อมั่น และยอมรับในการเข้าร่วมชุมนุมที่เวทีกลางในปี 2553 ซึ่งเป็นการสรา้งความใกล้ชิดกับผู้ชุมนุมนี้ด้วย เพื่อแสดงถึงการเป็นเพื่อนเคียงข้างการเข้าชุมนุมที่เสี่ยงต่ออันตรายจากเหตุการณ์ที่รุนแรง และการสลายการชุมนุมนอกเหนือจากบทบาทในการจัดรายการ และชุมนุมในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนบทบาทของสถานีวิทยุนั้น ถือว่าเป็นช่องทาง (Channel) ที่มีส่วนสำคัญในการกระจายข่าวสารทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่และการชุมนุม และถือว่าเป้นสื่อต้นทุนต่ำที่ยึดโยงกับกลุ่มสมาชิกในพื้นที่ที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เรียกว่าชนชั้นรากหญ้าได้ดี รวมทั้งเป็นสื่อลักษณะการสื่อสารสองทาง (TWo way) ที่ฟังในฐานะผู้รับสารสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนทัศนคติทาง การเมืองเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในการชุมนุมThe thesis entitled, The Role of 90.25 MHz Sumutprakan red shirt's Radio Station in the Political Event of 2010. The results are as follows: (1) the pattern of the activity conduction by the 90.25 MHz Sumutprakan Red Shirt's Radio Station and its mass in Samutprakan includes persuading the local to listen to speeches by the Red Shirt leaders in Samutprakan as well as Thaksin's phone-in speeches. The source is the DJs of the station or as a political leader who is influential in raising the members and mass' motivation to a certain extent, since the efficiency of generating the strong motivation in the audience via the Massage or persuasive communication of the broadcaster to convince the audience to take part in the political event is called for. State-of-the-art communication technology to connect the signal of Thaksin's live phone-in from United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD)'s main stage is also essential. (2) Regarding the role of 90.25 MHz Sumutprakan Red Shirt's Radio Station in the political event of 2010, it was found that there are two major roles, i.e. the role of individuals as the DJs at the radio station and the role of the radio station itself in participating in the political event. The roles as the DJs and the director of the station contribute to as well as impact on confidence gain and acceptance of taking part in the main stage of the mass counter-rallies in 2010, and also the Red Shirt supporters are accustomed to them. This suggests that the radio station people are truly friends in need who are able to risk their lives from an outbreak of violence and red-Shirt movement termination apart from their daily routine jobs at the radio station. The role of the radio station is considered a channel to broadcast news and information regarding activities in the rallies. This channel is low cost whilst it is able to connect the grass root level supporters of UDD as well. It is also an instance of two-way communication between the broadcaster and the audience in sharing and exchanging their political views and opinions during the rallies.Downloads
Issue
Section
Articles