องค์กรบริหารจัดการระบบรางโดยรถไฟความเร็วสูงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

Authors

  • นันทพล กาญจนวัฒน์

Keywords:

รถไฟความเร็วสูง, ทางรถไฟ, การขนส่งมวลชน

Abstract

ระบบรางด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและขนส่ง (Hub Connectivity) ในภูมิภาคอาเซียน โดยมีรูปแบบบริหารจัดการที่เหมาะสมตามบริบทและกฎหมายไทย ซึ่งได้รูปแบบองค์กรของประเทศพัฒนา 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศญี่ปุ่น มีการบริหารจัดการด้านการพัฒนาและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นองค์กรภาครัฐ และด้านการเดินรถโดยบริษัทเอกชน 7 บริษัท ไต้หวัน มีการบริหารจัดการโดยรัฐวิสาหกิจ 2 ราย แยกเป็นด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน กับด้านการเดินรถไฟ สาธารณรัฐฝรั่งเศส มีการบริหารจัดการโดยบริษัทแห่งชาติและว่าจ้างให้บริษัทเอกชนบริหารจัดการการเดินรถและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยภายใต้กฎหมายปัจจุบันสามารถมีรูปแบบบริหารจัดการได้ 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) รูปแบบที่ 2 โดยบริษัทลูกของ รฟท. หรือ รฟม. รูปแบบที่ 3  ดำเนินการร่วมระหว่าง รฟท. กับ รฟม. รูปแบบที่ 4 โดยรฟท. หรือ รฟม. กับบริษัทเอกชน รูปแบบที่ 5 โดยรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ บทความนี้ได้เสนอทางเลือก รูปแบบที่ 5 ซึ่งนำโครงสร้างองค์กรญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบ Rail system by High Speed Rail is an important transportation for the development of the country and will be is a Hub connectivity in the region. An appropriate Institution Model for the administrative management under Thai context and Law adopted from 4 developed countries consists of Japan has her development and infrastructure management by government institution. The operation runs by 7 private companies. Taiwan runs the comprehensive management by a public company. Republic South Korea separates the administrative management into state enterprises i.e., infrastructure construction; and operation. France has the administrative management by national company and hire private company manages the operation and maintenance the infrastructure. Thailand, under the present context and law has 5 administrative models i.e., Model 1 by State Railway of Thailand (SRT) or Mass Rapid Tran Authority (MRTA). Model 2 by Branch company of SRT or MRTA . Model 3 by Cooperation between SRT and MRTA. Model 4 by SRT or MRTA with Private Company. Model 5 by New establishing State Enterprise. This article proposes Model 5 as an alternative Model which modified the structure models from Japan, South Korea and France.

Downloads