ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย
Keywords:
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, การบริหารธุรกิจ, การบริหารองค์การ, ประสิทธิผลองค์การAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย โดยศึกษาจากผู้บริหารของกิจการเพื่อสังคมจำนวน 150 กิจการตัวอย่าง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณที่ประกอบไปด้วยแบบสอบถามเชิงคุณลักษณะข้อมูลทั่วไป ระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของกิจการเพื่อสังคม และคำถามปลายเปิดเพื่อถามความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และมุมมองที่มีต่อความสำเร็จของกิจการเพื่อสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพกิจการเพื่อสังคมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่า ᵪ2 = 67.179,df = 64, ค่า p = 0.369, ค่า ᵪ2 /df = 1.049, ดัชนี GFI = 0.943, ดัชนี NFI = 0.968, NNFI = 0.995, RMR = 0.032 SRMR = 0.054, RMSEA = 0.018, ค่า LSR = 3.828 ตัวแปรทั้งหมดสมารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพกิจการเพื่อสังคมได้ร้อยล่ะ 54.00 แสดงว่าตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะของผู้นำในกิจการเพื่อสังคมและโครงสร้างขององค์การ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพของกิจการเพื่อสังคมได้ร้อยล่ะ 54.00 โดยประสิทธิภาพของกิจการเพื่อสังคม ได้รับอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากคุณลักษณะของผู้นำในกิจการเพื่อสังคม มากที่สุด โดยมีอิทธิพลทางบวกเท่ากับ 0.635 รองลงมาได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรโครงสร้างขององค์การ โดยมีอิทธิพลทางลบเท่ากับ -0.464 และได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ โดยมีอิทธิพลทางบวกเท่ากับ 0.448 ตามลำดับ This research focused on discovering the factors influencing efficient Social Enterprises (SE) through the sampling of 150 leaders of Social Enterprises in Thailand. The researcher used quantitative research methodology to gather the data. The researcher was conducted primarily through questionnaires which sought to obtain general demographic data, opinion ratings scales on the efficiency factors of SE and other relevant information from a range of open-ended questions. The researcher used Structural Equation Modeling (SEM) methodology to analyse the data. The results indicated that the hypothetical causal model was consistent with the empirical data, with ᵪ2 =67.179, df = 64, p = 0.369, ᵪ2 / df = 1.049, GFI = 0.943, NNFI = 0.995, RMR = 0.032, SRMR = 0.054, RMSEA = 0.018, and LSR = 3.828 The research results showed that the variables in the model accounted for 54.00 percent of the total variance of SE Efficiency (R2 = 0.540).At a 0.05 confident level, SE Efficiency had a statistically significant direct effect from Leadership at 0.635, Structure at -0.464 and Value-added Products at 0.448, respectively.Downloads
Issue
Section
Articles