การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำตามฐานคิดจิตตปัญญาแบบปรับใหม่

Authors

  • ปุญณดา ภุมราภรณ์

Keywords:

จิตตปัญญาศึกษา, ภาวะผู้นำ

Abstract

จิตตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวมเพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้งทางความคิดและจิตสำนึกใหม่เกี่ยวกับตนเองและโลก สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างสมดุล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวโน้มคุณสมบัติ ภาวะผู้นำของหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบตามฐานจิตตปัญญาแบบปรับใหม่ให้ครอบคลุมและเหมาะสมเพื่อพัฒนาตัวแบบและศึกษาระดับการยอมรับตัวแบบ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี 1) การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทบทวนทิศทางใหม่และกำหนดแนวโน้มคุณสมบัติภาวะผู้นำ โดยการประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีชื่อเสียงหรือผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 17 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คัดเลือกคนแรกของแต่ล่ะกลุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Mode และ IR ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า 2) การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาระดับการยอมรับตัวแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในสายการบินบริการเต็มรูปแบบ ได้แก่ บริษัทการบินไทยจำนวน 200 คนและบริษัทการบินกรุงเทพจำนวน 40 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของแฮร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ โมเดลสมการโครงสร้างและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความเห็นที่สอดคล้องกันของผู้ให้ข้อมูลหลักไดแนวโน้มองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ตัวแบบการสร้างเสริมภาวะผู้นำ จำแนกได้เป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้นำ 8 ด้าน จากนั้นนำไปสังเคราะห์เป็นอนาคตภาพด้วยแบบอาศัยกระบวนการที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ ได้วิธีการทั้งหมด 24 วิธีที่สอดคล้องกับบริบทที่ศึกษา และทดสอบระดับการยอมรับตัวแบบพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีที่ยอมรับได้ (ᵪ2 = 431.64, df = 219, p-value = 0.00, RMSEA=0.218, GFI= 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.035) ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับการยอมรับตัวแบบและระดับปฏิบัติงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของระดับยอมรับส่วนใหญ่มีมากกว่าค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติงานเกือบทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05) การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรนำไปประกอบการวางแผนการจัดการความรู้ในองค์การ ด้านการเสริมสร้างภาวะผู้นำเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากภายในตนเองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับที่ใหญ่ขึ้นทั้งภายในองค์การและสังคมอย่างยั่งยืน Contemplative Education is the holistic learning process which emphasizes on the human development of self-awareness so that a learner can get a deep insight. This process allowed the Transformative Learning which can be integration of knowledge and applied them efficiently. The purposes of this research was to develop a conceptual framework for enhancing leadership behaviors with Air Purser based on adaptive contemplative approach in Full Airline Service Industries and to define the acceptance level of the model. This research was a mixed method research 1) the quality research which reflected and determined the trending desired attributes of a leader using the adaptive Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) technique. The key performances were seventeen experts divided into 4 groups, selected through purposive sampling. The research instruments were structural interview forms and questionnaires, in which their opinions were confirmed by using the triangulation technique. The statistical methods were used to analyze the data through the use of mode and interquartile range.  2) The quantitative research which tested the acceptance level of the model. The research instruments were questionnaires. The sample group was determined according to Haier’s criteria in this case 200 Air pursers from Thai Airways and 40 more from Bangkok Airways. Data was statistically analyzed using SEM and also inferential statistics. Findings of the research revealed the number of trend of potential components of desired leadership behavior which can be categorized into 8 fields composed in main aspects of system management as: input, process, output and outcome which then show the future scenario for enhancing leadership behaviors model. The study integrated the model into the work field in a continuous manner that can be synthesized into 24 methods. Then 8 assumption models were brought to perform the test on the hypothesis and found that the models had high acceptance criteria (ᵪ2 = 431.64, df = 219, p-value = 0.00, RMSEA=0.218, GFI= 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.035). A comparison between the level of performance and the level of acceptance procedures of a process to enhancing leadership behaviors model have shown that the average score of the  acceptance level was more than the average level of performance in almost every aspect at the statistically significance level (p <0.05) It is recommended that managers should apply the results from this research to plan the knowledge management process in order to enhance leadership behavior. This could lead to individual transformative change which further enhances greater change to ensure a sustainable organization and society.

Downloads