การบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์
Keywords:
รายการโทรทัศน์, รายการโทรทัศน์ - - การจัดประเภทผู้ชมAbstract
การวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงระดับการนำเอาหลักเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไปปฏิบัติ 2. ศึกษาการก่อตัวของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 4. ศึกษาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ และ 5. ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและผู้ประกอบการผลิตรายการโทรทัศน์ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ผลิตรายการมีความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไปปฏิบัติอยู่ในระดับสูง สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การก่อตัวของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคดอกชน มีความเห็นแตกต่างกัน โดยภาครัฐและภาคประชาสังคม มีความเห็นสอดคล้องกันว่าการก่อตัวของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือเกิดจากการมองเห็นปัญหาของความรุนแรง กระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ การศึกษาพบว่า การจัดองค์กรเครือข่าย ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน มีการตั้งอนุกรรมการเพื่อจัดทำคู่มือการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ การจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจะจัดบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการทำงานของตนเอง การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในเครือข่าย เครือข่ายจะมีการประชุมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การจัดประชุมประมาณเดือนละ 2 ครั้ง เครือข่ายยังเปิดให้ประชาชนสามารถประเมินคุณภาพสื่อผ่าน www.me.or.th หรือ SMS หมายเลข 4863333 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและร้องเรียนความไม่เหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการสื่อสารคู่ขนานไปกับการปฏิบัติงานของเครือข่าย เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนมีการเรียนรู้ร่วมเกิดขึ้นในลักษณะการขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ นอกจากเครือข่าย เช่น นักวิชาการสื่อสารมวลชน การจัดระบบสารสนเทศ เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน จะมีฐานข้อมูลของตนเอง แต่มิได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ไม่มีการจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเหนียวแน่นของเครือข่ายร่วมกัน การสร้างความสัมพันธ์ภายในเครือข่าย เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน มีลักษณะไม่เป็นทางการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ จากการดำเนินงานของเครือข่าย พบว่า ภายหลังจากที่เครือข่ายรวมตัวกัน ไม่พบกิจกรรมใดๆ นอกจากเกิดการจัดตั้งคณะกรรมการ คู่มือการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ พบว่า การขาดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในจำนวนที่เพียงพอ ทำให้การจัดทำคู่มือ เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์เกิดเข้าใจไม่ตรงกันและขาดผู้ประสานงานเครือข่ายที่ชัดเจน The title of this research is “Management administration of collaboration networking for the classification of television ratings” by the aims to 1.To following by the study the implementation guidelines for the appropriate classification of television ratings. 2. To study the formation of the network cooperation management in classification of television ratings 3.To study the processes of the network cooperation management to manage the classification of television ratings. 4. Study the outcome of the network cooperation management to manage classification of television ratings and 5.To study the problems and barriers of the network cooperation management in order to manage the classification of television ratings. This research study used the Mix Method between quantitative research and qualitative research. The samples were used in quantitative research including a satellite TV channel and a TV production for qualitative research. The samples of persons who concerned with the state sector, the private sector and civil society sector. The results of quantitative research found that the producer’s opinion show that collaborates with agreed together to ensure the operation of the network smoothly and the operation of the network should be determining the plan/ the option choice to do in the future in order to prevent problems may occur. Even though agreed that network make the rules the classification of television ratings. For the qualitative research found that the formation of the network management cooperation by the government, civil society and the private sectors were different. The Government and civil society factor consensuses that the formation of the network management cooperation by understanding of the violence problems. The study of the management processes and collaborative network found that the government, civil society and the private sectors were setting a sub-committee to prepare a guide to the appropriate level of the television. The role of network member include with the government, private and civil society sector would be set authority in order to responsible themselves. The communication between the network member by a formal and an informal meeting twice times per month. Meanwhile the network is open to public through the media to evaluate at www.me.or.th or SMS number 4863333 in order to listening the people’s comment and complain the unsuitable of the television shows by parallel communication with network performance. The Government network, civil society and the private sectors joined to learn by get knowledge from other outside the network organizations, such as academic, journalism, management information system. The Government network, civil society and the private sector have their own database but did not exchange data. The Government network, civil society and the private sectors were not to get any activities together in order to build the relationships within the network include the Government, Civil society and private sectors network were informal. The outcome of the collaborative networks management by networks performance found that the post performances have not any activity. In addition to the committee was to make the guide of the classification of television rating. The problems and barriers arising from the management of collaborative network to the classification of television ratings show the lack of involvement of the private sector in sufficient numbers and a guide to the appropriate level of the television were not match and lack of cooperator for clearly network.Downloads
Issue
Section
Articles