ความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครอง
Keywords:
ความเป็นกลาง (ทัศนคติ), พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539Abstract
หลักความเป็นกลาง หรือหลักความไม่มีส่วนได้เสีย (Principle of Impartiality) จัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในระบบกฎหมายปกครอง โดยในระบบกฎหมายปกครองไทยนั้น หลักดังกล่าวได้ถูกบัญญัติวิธีปฎบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่กำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในเรื่องของการปฏิบัติราชการทางปกครอง โดยมีสาระสำคัญประการหนึ่ง คือ การพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่จะต้องมีความเป็นกลาง ปัญญาเป็นหลักประกันได้ว่าการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ดำเนินไปด้วยความเป็นธรรม ทั้งนี้เป็นไปตามหลักนิติรัฐ และหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการควบคุมฝ่ายปกครอง พระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้บัญญัติถึงกรณีที่เป็นการกระทบต่อหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1) ความไม่เป็นกลางในทางภาวะวิสัยหรือความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอกตามมาตรา 13 เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่มีความสัมพันธ์ทางด้านใดด้านหนึ่งใกล้ชิดกับคู่กรณี เช่น ก็มีเจ้าหน้าที่นั้นเป็นคู่กรณีเอง หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติไม่ว่าทางแต่งงานหรือทางสายโลหิต 2) ความไม่เป็นกลางในทางอัตตะวิสัย มีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน ตามมาตรา 16 เป็นกรณีความไม่เป็นกลางพันมีเหตุมาจากสภาพภายในความคิดจิตใจของเจ้าหน้าที่ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่มีสาเหตุโกรธเคืองอย่างร้ายแรงกับคู่กรณี หรือกรณีได้เคยพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องเดียวกันมาแล้ว ดังนั้น หากการดำเนินการพิจารณาทางการปกครอง ขัดต่อหลัก ความเป็นกลาง จะมีผลให้คำสั่งทางปกครองที่มาจากการพิจารณาทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและถูกเพิกถอนได้ Principle of impartiality is a general principte in administrative legal system. For Thailand, the principle is embedded in the Administrative Procedure Act, B.E. 2539. The act rules administrative proceedings performed by authorities and officials under all laws. One of the major concept in the act is the standard of fairness. The concept is to ensure impartiality in administrative proceedings carried out by officials. This is under Legal State and the legality of administrative actions, which are the doctrines applied in controlling administrative authorities. According to the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 partiality cases can be divided into two categories. Firstly, the objective partiality under Section 13 is the cases of official having personal relationship with the disputant. In this case, official may be a disputant himself or related to the disputant by blood or marriage. Secondly, the subjective partiality under Section 16 is the case that official is considered biased. This can be when official used to rule the case or have conflicts with the disputant. In conclusion, if any administrative proceeding performed by officials or commissions is against the principle of impartiality, the administrative order issued by that administrative proceeding will be illegal and voidable.Downloads
Issue
Section
Articles