Universal jurisdiction: Ending torture of individuals by states

Authors

  • Sutasinee Kongrewd

Keywords:

Torture, Human rights, Jurisdiction

Abstract

ใจความหลักของ “การทรมาน” อธิบายได้ว่าหมายถึง การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยความรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อความมุ่งประสงค์ เช่น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศ เพื่อลงโทษ เพื่อข่มขู่ให้กลัว หรือเพื่อบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้น การทรมานเป็นการกระทำที่ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่าเลวทรามอย่างยิ่ง  ถึงขนาดที่ต้องห้ามการทรมานโดยสิ้นเชิง (Absolute  ban) อาจแบ่งพิจารณาได้สามแง่มุมคือ หนึ่ง การห้ามการทรมานนั้นบัญญัติอยู่ในสนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายจำนวนมากมาย เช่น อนุสัญญาเจนีวาทั้งสี่ฉบับ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และยังต้องห้ามตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศอีกด้วย สอง การทรมานนั้น ไม่อาจเพราะเหตุอันใดมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อกล่าวหาว่าไม่มีความผิด และไม่อาจอ้างสถานการณ์เรื่องความมั่นคงของประเทศชาติมาเป็นข้อยกเว้นให้รัฐไม่จำต้องรักษาหน้าที่ของตนในการคุ้มครองบุคคลจากการทรมานได้เลย และสาม การห้ามโดยสิ้นเชิงนี้ เห็นได้จากการที่ความผิดฐานทรมานนั้นถูกกำหนดให้เป็นความผิดสากล กล่าวคือ ไม่ว่าผู้กระทำความผิดฐานประมาณนั้นจะไปปรากฏตัวอยู่ในรัฐใดก็ตาม รัฐนั้นสามารถใช้หลักเขตอำนาจสากลในการดำเนินคดีต่อผู้กระทำได้ แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้องใดใด ต่อโทพุทธธรรมหรือผู้เสียหายเลย บทความนี้มุ่งศึกษาว่ากลไกการกำหนดให้ความผิดฐานทรมานเป็นความผิดสากลดังกล่าว สามารถหยุดยั้งการทรมานคนโดยรัฐเป็นผู้กระทำหรือไม่ นอกจากนี้ บทความนี้ยังพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความรับผิดชอบของรัฐในกรณีความผิดฐานทรมานนี้อีกด้วย จากการพัฒนาดังกล่าว บทความนี้มีข้อสรุปว่า แม้หลักเขตอำนาจจากคนจะมีคุณูปการอย่างมากในการเพิ่มโอกาสในการนำผู้กระทำมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณา แต่ละเขตอำนาจสากลก็มีข้อจำกัดในตัวเอง และมีข้อจำกัดในเรื่องการไม่สามารถขจัดปัญหาอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความรับผิดชอบของรัฐต่อความผิดฐานทรมานอีกด้วย ดังนั้น ระเทศอำนาจสากลถึงไม่สามารถหยุดยั้งการทรมานที่รัฐเป็นผู้กระทำได้ด้วยตัวเอง หากแต่เป็นมาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งที่จะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับกลไกอื่นอื่น ดังจะได้เสนอต่อไปในบทความนี้ อันเป็นกลไกที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพื่อประโยชน์แห่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสามารถที่ห้องกันและหยุดยั้งการทรมานบุคคลโดยรัฐเป็นผู้กระทำ  Torture can be defined as an intentional infliction of physical or mental pain or suffering on a person with the consent of a person acting in an official capacity, for a certain purpose such as to obtain information or to punish, intimidate or coerce the person.  It is universally recognized as such a heinous act that it is absolutely prohibited in three regards.  First, the prohibition of torture is enshrined in numerous treaties and legally binding international agreements such as all four Geneva Conventions, the Rome Statute of the International Criminal Court, the Universal Declaration of Human Rights and other major human rights Conventions, the United Nations Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (UNCAT,  as well as customary international law.  Second, there can be neither defense to nor derogation from this prohibition and third, the absolute ban is reflected through the ascription of universal jurisdiction to the crime of torture.  With a special emphasis on the UNCAT, this article studies whether this mechanism of universal jurisdiction can end torture of individuals by States.  It further determines factors that hinder State accountability in relation to the crime of torture.  The article concludes that while universal jurisdiction is invaluable in increasing the likelihood of perpetrators being brought to justice,  it has limitations in itself as well as in relation to eliminating other hindrances to state accountability and therefore is a mechanism that cannot singlehandedly combat torture by States but is a significant feature that will work with other equally prominent mechanisms of a "comprehensive system"  proposed in this article for the purposes of reinforcing the ability to prevent and put an end to torture by States.

Downloads