การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (ภาคเหนือตอนบน)

Authors

  • กังสดาล กนกหงษ์
  • อรทัย เลาอลงกรณ์

Keywords:

โครงการกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง - - การประเมิน, กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง, การเมือง

Abstract

การศึกษาเรื่อง การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) และผู้ดำเนินโครงการกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเขตพื้นที่ปี 2556 ใน 5 ด้าน คือ การประชาสัมพันธ์โครงการกลั่นกรองพิจารณาโครงการเบื้องต้น การแนะนำปรับปรุงโครงการ การตรวจสอบรายงานเบื้องต้น และการติดตามโครงการ การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview: IDI) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussions: FGD) โดยมีการกำหนดโครงสร้างแบบสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับจังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวนทั้งสิ้น 94 คน และกลุ่มผู้ดำเนินโครงการกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 18 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ตามประเด็นที่ค้นหา (Topic inquiry) วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสังเคราะห์เนื้อหา (Synthesis) ตามประเด็นที่ศึกษาและนำเสนอเชิงพรรณนา (Descriptive anlysis) ผลการศึกษา พบว่า คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับจังหวัด (คปจ.) ประสบปัญหาในการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการที่มีข้อจำกัด ในเรื่องช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ครอบคลุมไปถึงทุกองค์กร ทุกพื้นที่ ช่วงเวลาการบริหารพันธุ์ที่กระชั้นชิดและไม่มีการใช้สื่อกลางที่มีพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในขั้นตอนการกลั่นกรองพิจารณาโครงการเบื้องต้น พบว่า โครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนยังไม่มีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และขาดการมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการพิจารณากลั่นกรองโครงการ สะท้อนให้เห็นถึงความซ้ำซ้อนในการทำงานของพื้นที่กับสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ยังพบว่า ในขั้นตอนการแนะนำปรับปรุงโครงการ คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมในระดับพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการเสนอแนะโครงการ ระยะเวลาในการปรับปรุงโครงการสั้น ขาดการประสานงานที่ดี ในขั้นตอนการตรวจรายงานเริ่มต้น พบว่า ผู้ดำเนินโครงการขาดประสบการณ์ในการเขียนสรุปผลรายงานโครงการขาดความเข้าใจในการเก็บหลักฐานทางการเงิน และขั้นตอนในการติดตามโครงการ พบว่า ไม่สอดคล้องกับบริบทการทำงานในพื้นที่ในส่วนสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากผู้ดำเนินโครงการ พบว่า มีปัญหาอุปสรรคที่ใกล้เคียงกับคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับจังหวัด (คปจ.) แต่มีประเด็นที่แตกต่างเพิ่มเติม คือ การโอนงบประมาณล่าช้า ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะการดำเนินงานของคณะคณะกรรมการเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด (คปจ.)  พบว่า ควรมีการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่นครชัดเจนในการกำหนดแนวทางการทำงานของคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับจังหวัด (คปจ.) ที่มาจากการจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับจังหวัดนั้น (คปจ.) ต้องมีความสอดคล้องและสอดรับกับวัฒนธรรมการทำงานของคนในพื้นที่ ระบบการทำงานของคณะกรรมการเครือข่ายประชาสังคมระดับจังหวัด (คปจ.) มันมีอำนาจในการทำงานและการตัดสินใจ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่านี้ และไม่ควรยึดโยงกับระบบราชการ ควรมีการจ้างผู้ประสานงานเพื่อหน้าที่ในการประสานงาน ทั้งในส่วนคณะกรรมการเครือข่ายประชาสังคมมาจังหวัด (คปจ.) กำหนดการสภารัตนาการเมืองภาคพลเมือง และสุดท้ายก็มีการถอดบทเรียนการทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานและสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับคณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคม ระดับจังหวัด ใน 8 พื้นที่ภาคเหนือตอนบน This Qualitative study aimed to assess operational outcomes of the civil political development fund project in 8 provinces of northern Thailand.  It included investigation, problems encountered, suggestions, and a guideline for the operation of the provincial civil society network committee as well as the project operators in 2013 based on the following 5 aspects:  project public relations, initial project consideration and verification, project suggestion and improvement,  initial report inspection,  and monitoring.  Research instruments in this study included in-depth interview, and focus group discussion in which the interview schedule structure was determined in advance.  Key informants were classified into 2 groups:  the provincial civil society network committee, northern region (94 persons) and the civil political development fund project implementers(18 persons).  Obtained data were analyzed based on topic inquiry, content analysis, content synthesis, and descriptive analysis. Results of the study revealed that the provincial civil society network committee faced problems in the project implementation of all steps, i e. limitation in project public relations,  public relations channels did not cover every organization or area,  too little time for public relations,  and there was no utilization of intermediary existing in the area.  For the step of project consideration and verification, it was found that the project asking for supporting budgets did not contain activities promoting a earning process and it lacked of participation.  This step reflected overlapping in the project implementation of the area and the Civil Political Development Council office in the area.  Regarding the project improvement step, it was found that the time span for project improvement was short and it lacked of good coordination According to the initial report inspection,  it was found that the project implementers lacked of understanding in financial evidence keeping.  Based on the project monitoring step,  it was found that this was not consistent with the context of working in the area.  For problems encountered,  it was found that there were problems which were consistent with the provincial civil society network committee. However. There was an issue which was different-late budget transfer during the project implementation which was not consistent with lifestyle of the community. The following were suggestions to the provincial civil society network committee for the project implementation:  understanding in roles,  duties and clear determination of a guideline for the project implementation should be clear;  background of the provincial civil society network committee forming must be consistent with working culture of people in the area;  working system of the provincial civil society network committee should have authority in working and decision-making and it should be flexible-not attach to bureaucratic system;  it should have coordinator hiring to be responsible for coordination both the provincial civil Society network committee and the Civil Political Development Council Office;  and it should have knowledge management in working to exchange experience,  task operation,  and create a learning process for the provincial civil society network committee in the eight provinces of northern Thailand.

Downloads