การรับรู้และพัฒนาการจัดการตามแนวทางผู้ประกอบการทางสังคมของวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
Keywords:
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, วิสาหกิจชุมชนAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดของผู้ประกอบการทางสังคม และพัฒนาการจัดการเชิงนโยบายตามแนวทางผู้ประกอบการทางสังคมสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในภูมิภาคตะวันตก ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ คือ กรมอุตสาหกรรมชุมชนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 100 ราย และศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 17 คน ขณะที่การวิเคราะห์ผลเชิงปริมาณใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาแสดงถึงการรับรู้ที่มีต่อแนวทางของผู้ประกอบการทางสังคมโดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก โดยการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ให้การส่งเสริมการศึกษาและมุ่งเน้นการบริการชุมชน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงสำรวจ ผ่านเกณฑ์ทุกค่าแสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับแนวทางการจัดการของผู้ประกอบการทางอาคมที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตกนั้น ต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยมุ่งเน้นทางการพัฒนาด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพท้องถิ่นรวมทั้งนำผลประกอบการมาแก้ไขปัญหาทางสังคม 2) การสร้างถนนการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการทรัพยากรในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการเกิดมลภาวะจากกระบวนการผลิต และ 3) การสร้างกำไรเพื่อเสริมหนุนรายได้และความเป็นอยู่ในชุมชน This research was aimed to study a perception of social entrepreneurship concept, and to develop a social enterprise management policy for community enterprises located in the western region of Thailand. The researcher applied mix method methodology using both questionnaire and in-depth interview as the main instruments. The samples in this research included 100 members of community enterprise, and 17 key informants for an in-depth interview. Statistics used in the quantitative data analysis consisted of descriptive statistics, and Exploratory Factor Analysis(EFA) as inferential statistics. Whereas a descriptive analysis and content analysis were applied for qualitative analysis. The results revealed that according to perceptions towards social entrepreneurship concept, the community enterprise members understood that it must give precedence to the profit of society by supporting disadvantaged people, promoting education and providing community services. With the Exploratory Factor Analysis, it is found that an index of consistency in the exploratory factor analysis model have passed the criteria, which indicates that the model was consistent with empirical data. For a suitable social entrepreneurship management approach for the community enterprise in the western Thailand, they should develop with the 3 components(CEP): 1) Providing local career development and bring a profit to solve social problems, 2) promoting environmental management in order to enhance local resource management and reduce a pollution, and 3) Providing a business profit as an income distribution and to support livelihood in the community.Downloads
Issue
Section
Articles