Factors determining provincial administrative organizations' expenditure: A case study of primary education

Authors

  • Morakot Muthuta

Keywords:

Expenditures, Public, Education, Elementary, Government aid to education. Provincial administrative

Abstract

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยมุ่งหวังว่าการจัดการศึกษาโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษาได้ดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด น่าจะตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นได้ดีกว่าโดย อปท. สามารถมีส่วนร่วมทั้งในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาและส่งเสริมระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะที่หลากหลาย และทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นต่างก็มีงบประมาณที่จำกัด การจัดสรรงบประมาณย่อมเป็นไปตามลำดับความสำคัญของนโยบายของท้องถิ่นนั้น ๆ ในอดีตมีการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่องบประมาณรายจ่ายสาธารณะประเภทต่าง ๆ ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น แต่ในกรณีประเทศไทยมีงานศึกษา ในด้านดังกล่าวจำนวนน้อยมาก อีกทั้งงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่นำปัจจัยด้านธรรมาภิบาล มาประกอบการวิเคราะห์ก็มีจำนวนน้อยเช่นกัน ดังนั้น ในงานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งเป็น อปท. ประเภทหนึ่งที่มีการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อการกำหนดรายจ่ายสาธารณะทางด้านการศึกษาของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณที่มาจากรายได้ของท้องถิ่นเอง ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และธรรมาภิบาล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า งบประมาณรายจ่ายต่อหัวของนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดโรงเรียน อบจ. ถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือรายได้ที่ อบจ. จัดเก็บเอง ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ จำนวนนักเรียนและจำนวนโรงเรียน ปัจจัยทางด้านการเมือง ได้แก่ สัดส่วนคนยากจน และความต่อเนื่องในการดำรงตำแหน่งของนายก อบจ. และปัจจัยทางด้านธรรมาภิบาล ได้แก่ อบจ. ที่ได้รับรางวัล อปท.  ที่มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และรางวัลพระปกเกล้า ด้านการส่งเสริมความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนNowadays, Local Administrative Organization (LAO) in Thailand has increased its role in education services provider. With assumption that LAO is the closest government unit so it should be responsive to local needs most. Therefore, LAO should help  improve efficiency and effectiveness in public education services. Normally, LAO can take part in one or two both education functions which are providing education in educational institute or supporting education systems. Either or both functions need educational expenditure to fulfil the public education goals. However, regarding limited resources, each LAO would allocate its expenditure to high prioritized functions. The question that which factors determine the priority of education in local government is taken into account as there are few researches on local spending on education in Thailand. Moreover, there are fewer studies on the determinants than concern about political process, in other word, governance factors in both international and national studies. In this study, its scope is to study 29 Provincial Administrative Organizations (PAOs) providing primary education services. The main objective is to investigate the determinants of socioeconomic, political and hovernance factors on per pupil primary education expenditure (PPE) allocated from PAOs collected revenues. The results found that economic factor: local revenue, social factors: number of students and number of schools, political factors: poverty ratio and political continuity and governance factors: PAOs received  Good Governence Awards and King Prajadhipok Institute’s awards on transparency and participation promotion had significant effects on PPE.

Downloads