การเปรียบเทียบผลการนำนโยบายด้านแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ กรณีศึกษา 3 จังหวัดภาคตะวันออก สระแก้ว จันทบุรี และตราด

Authors

  • วิชัย จงโชติชัชวาลย์
  • ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค

Keywords:

แรงงานต่างด้าว, นโยบายแรงงาน, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Abstract

การเปรียบเทียบผลการนำนโยบายด้านแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติกรณีศึกษา 3 จังหวัดภาคตะวันออก สระแก้ว จันทบุรีและตราด ได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากหน่วยงานต่างๆ ผลการศึกษาสามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบายแรงงานต่างด้าว พบว่าทั้ง3 จังหวัดมีความชัดเจนของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบาย แต่ยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้ เนื่องจากไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน และการแก้ไขปัญหาเป็นแบบระยะสั้นรายปี สำหรับการปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พบว่า แต่ละจังหวัดยึดกรอบแนวทางนโยบายจากส่วนกลาง และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ผนวกแนวทางและนโยบายของจังหวัดภายใต้หลักการตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจของจังหวัดเป็นหลัก โดยใช้ปัญหาของท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง และดำเนินดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) ด้านทรัพยากร พบว่า ทั้ง 3 จังหวัด มีความพอเพียงของทรัพยากรทางการเงิน แต่ขาดความพร้อมในด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่เพื่อให้บริการ รวมถึงบุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ 3) ด้านหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า มี 5 หน่วยงานหลัก ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง งานทะเบียนราษฎร์จังหวัด และหน่วยงานทางทหาร ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างบังคับใช้กฎหมายตามที่ตนเองสังกัด ทำให้เกิดความขัดแย้งในขั้นตอนการดำเนินงาน 4) ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนการค้าชายแดนสูงถึงร้อยล่ะ 80 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้านสังคม พบว่า มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองส่วนหนึ่งมีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ถูกจำกัดโอกาสและสิทธิในด้านต่างๆ ส่วนด้านการเมือง พบว่า บทบาททางการเมืองมีผลต่อการดำเนินกำหนดนโยบายแรงงานต่างด้าวในแต่ล่ะปี Based on relevant documents and in-depth interviews with various authorities, this study indicates four-dimensions of findings. First, with regard to foreign worker policy, it is found that the objectives and goals of the policy of all the three provinces are clear, but they are unable to reach their objectives and goals because they do not stipulate problem alleviation approaches, and are also annual short-term ones. In terms of policy to meet the economic demands of each province based on a problem-oriented approach. Moreover, a committee of relevant authorities may be established to ease local problems. Second, with regard to resources, it is found that all the province have sufficient financial resources, but nevertheless lack tools, equipment, operating sites, and personnel. Third with regard to authorities’ implementing policy, it is found that there are five major direct organizations: the provincial offices of employment, the provincial offices of public health, the provincial immigration offices, the citizen registration offices, and military authorities, which employ the laws and regulation they are under individually. This causes disagreement about processes. Finally, as far as circumstances are concerned, in terms of the economic dimension, border trade there is 80% of the Thai-Cambodian commerce. In terms of the social dimension, because of illegal immigration and illegal status, many opportunities and rights of alien workers are restricted. In terms of the political dimension, it has an impact on the foreign worker policy annually.

Downloads