ความคาดหวัง ความต้องการ ของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • สุรณรงค์ แจ่มจรัส

Keywords:

นักโทษ, ความคาดหวัง (จิตวิทยา), ความต้องการ (จิตวิทยา)

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ต้องขังในขณะที่ถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ต้องขังในขณะที่ถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา จำแนกตามอายุ การศึกษา และระยะเวลากำหนดโทษ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา จำแนกตามอายุ การศึกษา และระยะเวลากำหนดโทษ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ความคาดหวังกับความต้องการของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ต้องขังชายที่ถูกควบคุมอยู่ภายในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นผู้ต้องขังที่แยกประเภทแล้ว จำนวน 1,873 คน ซึ่งได้จากการคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน แล้วจึงทำการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling Technique) และนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive)  ได้แก่ จำนวน (Frequency) ร้อยล่ะ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิง (Inferential) ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และทดสอบภายหลังเพื่อหาคู่ที่แตกต่างกัน (Post Hoc) โดยวิธีของ LSD (Least Significant Difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ด้านความคาดหวังของผู้ต้องขังในขณะที่ถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำ ผู้ต้องขังมีความคาดหวังในขณะที่ถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำ ประกอบด้วย ความคาดหวังต่อตนเอง ความคาดหวังต่อครอบครัว และความคาดหวังต่อสังคม พบว่าภาพรวมมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก โดยมีความคาดหวังรายด้านอยู่ในระดับมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ความคาดหวังต่อครอบครัว ความคาดหวังต่อตนเอง และความคาดหวังต่อสังคม 2) ด้านความต้องการของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านการศึกษา ด้านการฝึกอาชีพ ด้านสวัสดิการและนันทนาการ ด้านการพัฒนาจิตใจ และด้านอนามัย ผู้ต้องขังมีความต้องการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการระดับมากที่สุดในด้านปัจจัยพื้นฐานและด้านอนามัย และมีความต้องการในระดับมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านสวัสดิการและนันทนาการ ด้านการฝึกอาชีพ ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนาจิตใจ 3) การเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ต้องขังที่มีอายุ การศึกษาและระยะเวลากำหนดโทษที่แตกต่างกัน พบว่าผู้ต้องขังที่มีอายุ การศึกษา และระยะเวลากำหนดโทษที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในขณะที่ถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และการเปรียบเทียบความต้องการของผู้ต้องขังที่มีอายุ การศึกษา และระยะเวลากำหนดโทษที่แตกต่างกัน มีความต้องการต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางฉะเชิงเทราโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ด้านความคาดหวังของผู้ต้องขังมีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความคาดหวังของผู้ต้องขังมีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ต้องขังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านการฝึกอาชีพ ด้านสวัสดิการและนันทนาการ ด้านการพัฒนาจิตใจ และด้านอนามัย โดยมีความสำพันธ์อยู่ในระดับต่ำ และมีความสัมพันธ์กับด้านปัจจัยพื้นฐาน อยู่ในระดับต่ำมาก This study attempted 1) to study the levels of expectation and requirement of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison, 2) to compare the expectation of prisoners while staying in prison, 3) to compare the requirement of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison classifying by age, education and duration of punishment and, 4) to study the relationship of expectation and requirement of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison. The subjects in this study were 330 male prisoners in Chachoengsao Provincial Prison from the population of 1,873 prisoners who were classified by thee type of offence. 330 subjects were selected from Taro Yamane Formula with Simple Random Sampling Technique. The data then were analyzed from calculation program. The statistics in this study were descriptive statistics including frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation as well as inferential statistics including One-way Analysis of Variance, post Hoc with Least Significant Difference (LSD) method and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings were as follows:   The expectation of prisoners while staying in prison  The study on expectation of prisoners while staying in prison including self-expectation, expectation towards family and expectation towards society revealed that the overall expectation towards family had the highest means whilst the lower ranks were self-expectation and expectation towards society, respectively.   The requirement of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison The overall requirement of prisoner towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison consisting of basic needs, education, professional training, welfare and recreation, mental development and sanitary were at the high level. In addition, the basic needs earned the highest means whereas the lower ranks were sanitary, welfare and recreation, professional training, education and mental development respectively. The study on the comparison of the expectation of prisoners with different age, education and duration of punishment while staying in prison indicated that prisoner with different age, education and duration of punishment had the expectation of prisoners while staying in prison with no statistically significant level at 0.05 Moreover, the comparison of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison showed that prisoners with different requirement towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison in overall at statistically significant level of 0.05. The expectation of prisoners correlated with the requirement of prisoners towards the operation of Chachoengsao Provincial Prison in overall differently with statistically significant level of 0.01. In fact, the expectation of the prisoners had a low relationship with the prisoners’ requirement. When considering in each factor, it was found that the prisoners’ expectation correlated with prisoners’ requirement of education, professional training, welfare and recreation, mental development and sanitary were at the low level, except basic needs – the relation was at very low level.

Downloads