ผลกระทบของนโยบายการโอนย้ายทะเบียนบ้านของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น
Keywords:
การเลือกตั้งท้องถิ่น, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การย้ายที่อยู่อาศัยAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายโอนย้ายทะเบียนบ้านของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามที่มีต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาของการนำนโยบายการ.โอนย้ายทะเบียนบ้านของนิสิตไปปฏิบัติที่มีต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) บุคลากรฝ่ายการเมืองซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2) ผู้เกี่ยวข้องกับการออกนโยบาย 3) ตัวแทนนิสิตที่โอนย้ายทะเบียนบ้านเข้ามา การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ทำให้นิสิตที่มีภูมิลำเนาอยู่ไกลเกิดความสะดวกในการเลือกตั้ง แต่นิสิตโอนย้ายไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมาก ทำให้วิธีการหาเสียงเลือกตั้งจากนิสิตเป็นไปด้วยความโปร่งใส แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถใช้วิธีการหาเสียงเลือกตั้งจากนิสิตได้โดยสะดวก การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของนิสิตโอนย้ายเป็นเพียงการใช้สิทธิเพื่อรักษาสิทธิทางการเมืองเท่านั้นโดยขาดองค์ประกอบการลงคะแนนเสียงที่เหมาะสม 2) แนวทางแก้ไขปัญหาด้านการเลือกตั้ง พบว่า มหาวินทยาลัยในฐานะเจ้าบ้านควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งให้นิสิตทราบผ่านสื่อต่างๆ อย่างทั่วถึง และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้นิสิตรู้จักบทบาทหน้าที่และมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ด้านนโยบายควรแล้วแต่เหตุผลความจำเป็นและความสมัครใจของนิสิตแต่ละคน This study aimed at 1) investigating the impact of policy concerning the transfer of student’s household registration on the local election in Mahasarakham University; and 2) exploring the proper solutions to solve the problems in the local election caused by the policy concerning the transfer of student’s household registration. The participant was classified into 3 groups including 1) the politicians who won the election; 2) the stakeholders who were involved with the policy issuance; and 3) the student representatives whose household registration was transferred into the university. This qualitative study collected the data from the in-depth interview, focused group discussion, and participatory observation. The outcome was found that: 1) it is more convenient for the student to cast their vote but a few number of them did; the election campaign can be done with more transparency but the candidates have difficulty promoting themselves to the student; and the student’s vote was casted only to maintain their right in the election without any thoughtful considerations; 2) in term of the solutions to the election, it was suggested that the university, as the host, should broadly promote and provide the useful information about the local election to the students through different channels, facilitate the candidates in promoting their campaigns, and implant the student with a good sense in doing their responsibility and maintaining the democracy system; and in term of the policy, the student’s voting should be voluntary depending on a good reason and requirementDownloads
Issue
Section
Articles