รูปแบบกระบวนงานในการปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดแพร่

Authors

  • กานต์รวี วิชัยปะ
  • ทวิดา กมลเวช
  • วสันต์ เหลืองประภัสร์
  • มุทริกา พฤกษาพงษ์

Keywords:

ภัยพิบัติ, แผ่นดินถล่ม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาวิธีการทำงานที่ใช้ในการปฏิบัติงานศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่ เพื่อสร้างกระบวนงานหลักให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ท้องถิ่นเกิดการเรียนรู้งานของตนเองและสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้งลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ โดยมีการวิจัยจากเอกสาร เช่น กฎหมาย แผนปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ จำนวน 15 คน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในฐานะหน่วยงานสนับสนุน การศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษาคือ การปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มในแต่ละพื้นที่นั้นได้มีการปฏิบัติงานตามที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ แต่เนื่องจากการกำหนดการปฏิบัติงานเป็นการกำหนดเพียงกรอบในการทำงานทำให้วิธีการทำงานและประสิทธิภาพของการทำงานของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน อีกหนึ่งบทสรุปที่ผู้ศึกษาได้จัดทำขึ้นนั้น จึงเป็นกระบวนงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติงานศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ด้วยเหตุผลที่ว่าการจัดการภัยพิบัติจำเป็นต้องมีการกำหนดการทำงานไว้ล่วงหน้าไว้แล้วว่าต้องทำงานอะไรเมื่อใด แล้วเรียนรู้และปฏิบัติงานนั้นๆ ให้คุ้นชินเพื่อลดความผิดพลาดเมื่อต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงในสภาวะฉุกเฉินที่มีความโกลาหล ซึ่งกำหนดงานที่จะต้องทำหรือการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนจะทำให้เจ้าหน้าที่รู้ว่าตนเองควรทำงานตำแหน่งใดและมีงานที่จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ The study of the work flow of emergency operation center on floods and mudslides: a case study of local government in Phrae province, I certainly aims at studying and examining the operational approach of the emergency operation center on floods and mudslides in order to formulate the operational manual for Local government, to empower the local government on emergency self-working, and be prepared of preventing and mitigating the disaster, including eliminate the contingent or possible faults. This study is a qualitative research focusing on documentary research, for instance, laws and obligation, involving emergency operational plans, and the semi-structured interview with 15 actors consisting of operating sector and executive sector of local government in Phrae province. The results from the documentary research, according to laws and involving emergency operational plans, finds that the disaster policy and implementation defined by central government is just broadly framework, in which assigns the local government to handle and manage the floods and mudslides as a local operational unit. Moreover, the results from the field study interview affirms  that the Emergency Operation Center on Floods and Mudslides of local government in Phrae have pursued that framework that does not respond to the various and diverse contexts of each. The conclusion that I found from this study is the core work flow on how to implement and operate in the Emergency Operation Center for Flooding and Mudslides in order to formulate a prototype or local manual. With the important reason of disaster management, it is necessary to prepare operational and action plan in which defines how to handle the emergency in time. In addition, the local government officers need to learn and practice following to the plan in order to be familiar with the implementation and situation so that they can reduce and confine any faults or further problems.

Downloads