การพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

Authors

  • นันทนา เลิศประสบสุข
  • ภัครดา ฉายอรุณ

Keywords:

การพัฒนาแบบยั่งยืน, ประชาธิปไตย

Abstract

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นดำเนินควบคู่ไปกับการดำเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และในกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจในโลก ปัจจุบันต่างให้ความสนใจกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ทำให้ความมั่งคั่งของประเทศต่อประชากรไม่ลดลง โดยการ ทดแทนกันหรืออนุรักษ์แหล่งที่มาของความมั่งคั่ง ได้แก่ ทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และ ทุนธรรมชาติ ซึ่งมีที่มาของแนวคิดการพัฒนาที่ ยั่งยืนตามแนวทางว่าด้วยทุน มี 2 แนวคิด ดังนี้ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแนวคิดทุนธรรมชาติ (Natural Capitalism) ทุนนิยมธรรมชาติ วางอยู่บนพื้นฐานของการให้ความเคารพและการเรียนรู้จาก ระเบียบกฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ ทางธรรมชาติมากกว่าการเข้าไปแทนที่ ธรรมชาติด้วยความฉลาดของมนุษย์ รากฐานของแนวคิดนี้มาจากนักวิชาการ สองกลุ่มในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ในประเทศสหรัฐอเมริกา พอล ฮอว์เกน (Paul Hawken) เขียนหนังสือ “Ecology of Commerce” ในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ในประเทศเยอรมนี ชาวอเมริกันชื่อ อะมอรีและ ฮันเตอร์ ลัฟวินส์ (Amory and Hunter Lovins) และ เอิสท์ ไวซ์ซักเกอร์ ชาวเยอรมัน เขียนหนังสือ Factor Four การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยกลไกตลาด บรรษัทข้ามชาติได้มีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้ง โครงการ “ผลสะเทือนโลก” (Global Impact) เพื่อชักนำบรรษัทข้ามชาติเข้า ร่วมขบวนการของประชาสังคมโลกเพื่อสร้างสันติภาพ บรรษัทข้ามชาติต่าง ๆ ได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรต่าง ๆ ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบทาง สังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ให้ ความสำคัญแก่ระบบตลาด เห็นว่ากลไกตลาดสามารถสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้โดยได้เสนอรายงานที่องค์การสหประชาชาติในชื่อที่ว่า “ความยั่งยืนโดย ตลาด: กุญแจแห่งความสำเร็จเจ็ดประการ” (Sustainability Through the Market: Seven Keys to Success) และโออีซีดีหรือองค์การเพื่อความ ร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD-Organization for Economic Cooperation and Development) ซึ่งเป็นสถาบันทาง วิชาการของประเทศพัฒนาแล้ว มีสมาชิก 30 ประเทศ (นับจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 หรือ ค.ศ. 2000) ก่อตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่าง ประเทศของประเทศสมาชิกและเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตามหนทาง ทุนนิยม โออีซีดีเป็นองค์การหนึ่งที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ได้จัดประชุมสภาโออีซีดีระดับรัฐมนตรี เกี่ยวกับนโยบายเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การประชุมนี้มีข้อสรุป ที่สำคัญ 3 ประการซึ่งมีสาระสอดคล้องกันกับแนวทางของสภาธุรกิจโลกฯ นั่นคือ โดยพื้นฐานเห็นพ้องว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนควรเป็นการผสมผสาน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุล แต่ก็โน้มไปในทางให้ ความสำคัญแก่ด้านเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และเป็นข้อสรุปให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่บรรษัทข้ามชาติเฉกเช่นในกรณีสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนThe Democratic Regime had been processed along with the capitalism business activities. And in the current flow of the global economic development, attention was paid into the sustainable development concept. Sustainable Development was the development that remained the national wealth per populations by the replacement or preservation for the sources of wealth such as the capital generated from human, human capitalism, social capitalism and natural capitalism. The background of the sustainable development concept according to capital guideline consists of two following concepts. Sustainable development by Natural Capitalism. Natural Capitalism was based on respect and learning from the manner and regulations of things nature rather than to replace the nature with the human wise. The root of this concept came from two groups of academician in the US and Europe. In the United States, Paul Hawken wrote the book named “Ecology of Commerce” in 1993 while in Germany, the American named Amory and Hunter Lovins and the German named Ernst Weizsäcker wrote the book “Factor Four: Doubling Wealth, Halving Resource Use” in 1995. Sustainable development by marketing mechanism. Multinational Corporation played the crucial role in processing the sustainable development by the United Nations had established the Global Impact project to persuade the multinational corporations to join in the world social population procedure to form peace. The multinational corporations had gathered to set up any organizations to show their social responsibility and sustainable development. For example, World Business Council for Sustainable Development paid attention to the market system and considered that the market mechanism could form the sustainable development by submitting the report to the United Nation namely “Sustainability Through the Market: Seven Keys to Success”; OECD-Organization for Economic Cooperation and Development) which is the academic institution of the developed countries with 30 member nations (since December 2000). It was established by the international political reasons of the member countries to be the model for the development according to capitalism. OECD is another organization that paid attention to the sustainable development by in 2001 set host the OECD conference in the ministers level related to the sustainable development policy. This meeting gave three main conclusions with the contextual conformance with the guideline of the World Business Council for Sustainable Development that was basically agreed that sustainable development should be the balancing mixed between economic, social and environment but it tended to pay high attention to the economic. This was the conclusion for the government to bring it to practice not like the multinational corporations as in the case of for the World Business Council Sustainable.

Downloads