การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนศูนย์การค้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้ระดับท้องถิ่นบนฐานการพัฒนานโยบายการจัดการทางเศรษฐกิจในเขตเมืองระดับเล็ก

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • จิตพนธ์ ชุมเกตุ

Keywords:

การลงทุน, ศูนย์การค้า, การพัฒนาเศรษฐกิจ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ (Demand) ของผู้บริโภคของชุมชนในเขตเมืองระดับเล็ก วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการ ลงทุนศูนย์การค้าชุมชนในเขตเมืองระดับเล็ก ด้วยการวิเคราะห์ทางการเงิน และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การประเมินโอกาสในการมีส่วนร่วมใน กำลังแรงงานของแรงงานในชุมชนที่มาใช้แรงงานในศูนย์การค้าแห่งนี้ นำไปสู่ การสังเคราะห์นโยบายการจัดการทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ระดับท้องถิ่น รองรับการการกระจายตัวของเศรษฐกิจระดับชุมชนเมืองขนาดเล็ก การวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณในช่วงแรก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีโอกาส เข้ามาใช้บริการศูนย์การค้า (ผู้บริโภค) ได้แก่ ประชาชนในชุมชน ข้าราชการ พนักงานห้างร้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็นและเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์การลงทุนด้วยการจัดทำสมมติฐานรายจ่าย รายได้ รายงานทาง การเงิน อัตราส่วนทางการเงิน จากนั้นใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การประยุกต์ใช้การวิจัยเอกสารและการสังเคราะห์บริบทแบบนิรนัย เพื่อให้เกิด นโยบายการจัดการทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม ครัวเรือนจากประชาชน ในชุมชน ข้าราชการ พนักงานห้างร้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงรัศมี 50 ตร.กม. จากที่ตั้งของโครงการ ส่วนใหญ่มีสมาชิก 4 คน ต่อครัวเรือน สถานภาพการ ทำงานของประชาชนทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ลักษณะของที่อยู่อาศัย เป็นบ้านลักษณะทาวเฮ้าส์และบ้านเดี่ยว มีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 15,000 - 20,000 บาทต่อเดือน รายจ่ายรวมอยู่ที่ 10,000 บาท ทั้งนี้ ชุมชนมีความต้อง ให้มีศูนย์การค้าชุมชนขนาดเล็กเพื่อให้สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค โดยต้องการความหลากหลายของร้านค้าซึ่งจะทำให้มีสินค้าและบริการที่มากขึ้น และความสะดวกในการเดินทางมาซื้อ โดยมีความต้องการทั้งร้านขายอาหารร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค ธนาคาร ร้านขายยา คาร์แคร์ ศูนย์ให้บริการและ ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์ โดยจะมีการใช้เงินจับจ่ายใช้สอยในศูนย์การค้าอยู่ที่ 1,201 - 1,500 บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ศูนย์การค้าชุมชนแห่งนี้ ยังเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้ กับประชาชนในท้องถิ่น เนื่องจากมีการจ้างงานในหลายอาชีพ เช่น พนักงาน ขายประจำร้าน แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น เป็นการช่วย ยกระดับรายได้แรงงานของคนในชุมชน โดยจะก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้น จำนวน 72 ตำแหน่ง รายได้เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มขึ้นราว 655,000 บาทต่อเดือน โดยคิดเป็น 7,860,000 บาทต่อปี ส่งผลเกิดในการแก้ไขปัญหาความยากจนขึ้น พื้นฐานได้ระดับหนึ่ง อันเนื่องมาจากภาวะการมีงานทำ ซึ่งจากการวิเคราะห์ โครงการลงทุน เห็นว่าโครงการนี้มีความน่าลงทุน เมื่อพิจารณามูลค่าปัจจุบัน สุทธิ มีค่า 2,532,956.70 บาท ค่าอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ 20 ปี 15.85 % รวมถึงค่าดัชนีกำไร 1.05 มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 1 เดือน ขณะที่ผลการศึกษาเอกสารและสังเคราะห์บริบทแบบนิรนัย พบว่า ข้อสรุปในการทำนโยบายการจัดการทางเศรษฐกิจในเขตเมืองระดับเล็กที่มีการ จัดตั้งศูนย์การค้าชุมชนนั้นมีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ นโยบายด้านการวางแผน ด้านการจัดโครงสร้าง ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการอำนวยการ และด้านการ ควบคุม ที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดรูปแบบการมีส่วนร่วม ทางด้านแรงงานจากชุมชน เกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน พื้นที่ศูนย์การค้าชุมชนอย่างยั่งยืน มีผลตอบแทนโครงการที่เป็นไปตามเป้าหมาย ของผู้ลงทุน และเกิดความเกื้อกูลกันระหว่างนักลงทุนที่เป็นผู้ประกอบการและ ประชาชนผู้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในการเข้ามาใช้แรงงานThis research aims to study a demand of consumers within small urban areas by using financial analysis and financial ratio analysis, study an opportunity on participation of communities' labors in working in the community mall was evaluated, and to synthesize economic management policies to help generating local income and support an economic growth in small urban areas. This research was firstly conducted with quantitative methodology. A sample included 400 persons (consumers) who could be able to use services of the community mall including people in community, government officials, and employees of nearby stores. The samples were obtained by using nonprobability sampling and purposive sampling. Tool used for collecting data was questionnaire. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and investment project analysis through establishing hypothesis on expenses, income, financial report, and Financial Ratio. Then a qualitative methodology was applied by using documentary research technique and context-based deductive approach to create economic management policies. According to the field survey conducted for studying information on economy, society, and household from people in a community, government officials, and employees of nearby companies located in the radius of 50 square kilometers from the project' s location, the results showed that most samples had 4 family members per a household. Most of them owned their own business without employing any employee. Most of them lived in townhouses and single house with an income between 15,000 - 20,000 baht per month. Their total expenses were 10,000 baht. They requested a community mall in order to buy some consumer products with a variety of stores so that it provided more products and services. A convenience for transportation was also considered. The community mall should include restaurants, consumer products stores, banks, drugstores, car care centers, telephone centers, etc. Money spent when shopping was around 1,201 - 1,500 baht per time. Moreover, this community mall could help to increase income of people in the areas due to the occurrence of local employment for various positions, for example, salespersons, maids, security guards, salesclerks, etc. Consequently, this would increase income level for local labors. An employment could reach 72 persons under employment and increase communities' income up to 655,000 baht per month, which becomes 7,860,000 baht per year. Accordingly, the basic problem on poverty could be dissolved in some extent due to the employment status. According to analysis on project investment, it was found that this project was interesting for investment. Considering on Net Present Value, it was 2,532,956.70 baht with the return rate of the project within 20 years at 15.85%, profitability index of 1.05, and payback period of 6 years 1 months. For the results of documentary research with deductive approach, it can be concluded that the policies for economic management in small urban areas consist of 5 components: planning policy, organizing policy, leading policy, directing policy, and controlling policy. These policies must be continuously implemented in order to provide an effective approach of community participation in terms of labor. Thus, it would provide a circulation of economic activities in community mall areas and a return of an investment could be reached as expected with a concordance between investors as entrepreneurs and local people who gain benefits from the employment.

Downloads