พัฒนาการและบทบาทของสหภาพแรงงานในภาคตะวันออก: การวิเคราะห์เชิงวัฒนธรรม

Authors

  • พีระพงษ์ สุนทรวิภาต

Keywords:

สหภาพแรงงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) แรงงาน, วัฒนธรรม

Abstract

บทความนี้เป็นบทความวิจัยดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการและบทบาทของสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการพัฒนาและการ เปลี่ยนแปลงของสหภาพแรงงานในภาคตะวันออก ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษามาจากการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการ รายงานการประชุม และข้อมูลจากการ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีข้อมูลจริงเกี่ยวกับสหภาพแรงาน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการและบทบาทของสหภาพแรงงาน ภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับแนวคิดวัฒนธรรมในแนวหน้าที่นิยมหรือ ระบบอุปถัมภ์ของ ปีเตอร์ เอ็ม โบลว์ กล่าวคือ สหภาพแรงงานภาคตะวันออก เป็นสังคม ๆ หนึ่งที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันและก่อรูปสร้างขึ้นเป็น โครงสร้างของสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ระบบต่าง ๆ เช่น ระบบการเลือก ผู้นำ ระบบการถ่ายทอดความรู้ ระบบการจัดโครงสร้าง ระบบการสร้าง เครือข่าย และระบบการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการต่อสู้ มีการถูก ถ่ายทอดถึงกันและกันในหมู่สหภาพแรงงานภาคตะวันออก ในขณะเดียวกัน สถาบันของสหภาพแรงงานต่างทำหน้าที่หนุนเสริมกันและกันได้อย่างมี ดุลยภาพ และช่วยให้สหภาพแรงงานภาคตะวันออกที่มีจำนวนสมาชิกอยู่ จำนวนมากทั้งที่เป็นตัวบุคคลและตัวสถาบัน มีความรู้สึกร่วมและเป็นพวก เดียวกัน และสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มกันทั้งในเรื่องการพัฒนาและ การต่อสู้เพื่อสมาชิกในสังคมของสหภาพแรงงาน แนวคิดวัฒนธรรมกับอำนาจ เชิงสัญลักษณ์ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมการแสดงออกของ นายจ้างและภาครัฐที่มีต่อสหภาพแรงงาน กล่าวคือการปฏิบัติการของนายจ้าง และภาครัฐ ดูผิวเผินเหมือนกับให้ความสนใจในชีวิต และความห่วงใยที่มีต่อ ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน เช่น ให้สิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงาน แต่ลึก ๆ นายจ้างยังคงมุ่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ มากกว่าการสนใจลูกจ้างอย่างจริง ๆ เห็นได้จาก การพยายามครอบงำแกนนำสหภาพแรงงานโดยการซื้อตัวเพื่อให้ลดบทบาทใน การเรียกร้อง การเจรจาต่อรองแต่ละครั้งเป็นไปอย่างมีเหลี่ยมคูชิงความได้ เปรียบในข้อตกลง หรือการไล่สหภาพแรงงานที่มีการต่อต้านรุนแรง ขณะที่การ ปฏิบัติหน่วยงานภาครัฐซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นนำเหมือนนายจ้าง วัฒนธรรมระบบ อุปถัมภ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสหภาพแรงงานในภาคตะวันออก การเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกหลายแห่ง เกิดขึ้นจากความคับข้องใจของแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง และ ฝ่ายแรงงานไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ และเมื่อมีสหภาพแรงงานอื่นมาหยิบยื่น โอกาส หรือช่วยเหลือในการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้สำเร็จ สหภาพแรงงาน เหล่านี้จะส่งคืนให้ในรูปของความซื่อสัตย์ การยินยอมปฏิบัติตาม ในขณะที่ แกนนำสหภาพแรงงานเองมีการสร้างทายาทขึ้นมาในสหภาพแรงงาน และเมื่อ ทายาทได้เป็นแกนนำจะย้อนมาสนับสนุนแกนนำผู้ที่ให้การสนับสนุน รวมถึง ยินยอมที่จะให้ผู้ที่ให้การสนับสนุนมีอำนาจเหนือกว่า หรือยอมรับในบทบาท และยินดีทำการตามแรงงานที่เป็นผู้ให้ ในส่วนของแนวความคิดจากทฤษฎี ความขัดแย้ง (Conflict theory) โดยเฉพาะทฤษฎีความขัดแย้งของมาร์กซ์ ผู้วิจัยพบว่า ความขัดแย้งของสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกไม่เป็นไปตาม ทฤษฎีที่คาร์ล มาร์กซ์ กล่าวไว้ กล่าวคือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้เป็น เจ้าของปัจจัยการผลิตกับผู้ใช้แรงงานในการผลิต จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจที่เป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคม (Substructure) และเมื่อ โครงสร้างส่วนล่างมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลทำให้เกิดการผันแปรและ เปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Superstructure) ซึ่งเป็นสถาบัน ทางสังคม เช่น รัฐบาล ครอบครัว การศึกษา ศาสนา และรวมถึงค่านิยม ทัศนคติ และบรรทัดฐานของสังคม แต่ในส่วนของความขัดแย้งของสหภาพ แรงงานในภาคตะวันออกไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เป็น โครงสร้างส่วนล่างของสังคมของภาคตะวันออกเลย และยังไม่มีผลทำให้เกิดการผันแปรและเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างส่วนบนของสังคมอีกด้วย ช่วงชีวิตใน การทำงานของลูกจ้างล้วนถูกอิทธิพลของวัฒนธรรมต่าง ๆ ครอบงำ ขัดเกลา หรือหล่อหลอมกันด้วยหลายปัจจัย ไม่ชอบความขัดแย้งหรือการปะทะด้วย ความรุนแรง เป้าหมายของการทำงาน คือ ความต้องการรายได้เป็นหลัก ไม่สนใจอุดมการณ์ วัฒนธรรมสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกจึงมีลักษณะ ผ่อนคลาย ไม่รุนแรง ดังนั้น การจะศึกษาเรื่องของขบวนการแรงงานจากนี้ไป จะละเลยมิติด้านวัฒนธรรมไปไม่ได้This article is adapted from my doctoral degree research aimed at studying the progressive development and roles of labor unions in Eastern Region from the past till now. The study also includes cultural factors affecting development and change in labor unions in the Eastern Region. The methodology adopted for this research is qualitative. The research outcome is analyzed through various sources, for example, any relevant documents, textbooks, research reports, academic papers, proceedings as well as in-depth interview collecting from key informants in the matter of labour unions. Research outcome demonstrates that the progressive development and roles of labor unions in Eastern Region is in accordance with cultural perspective in the sense of functionalism. Labor unions in Eastern Region are composed of correlated, constructed and various systematic strategies such as leadership system, knowledgeable management system, constructive system, increasing corresponding system, strategic indicators system and how to claim their rights under the conditions of labor relations. Meanwhile, labor unions in Eastern Region have responsibility to make comprehensive stability, contribute unity, and strengthen in collaborative development in labor unions society. According to Pierre Bourdieu symbolic power concept, this notion is harmonious with employer and public perspective in relation to labor unions. This can be described by employer and public performance in terms of life and welfare consideration of employees, for example, the right of union establishment, union’s activity performance. Considering the relation between employers and labor unions, in part of employers, one difficulty is beneficial purposes and dominant powers of employers for deteriorating leaders role of some leading employees. Furthermore, it is apparent that patronage system has direct effect on labor unions in Eastern Region. Many industrial labor unions in Eastern Region originate from desperate employees who attempt to establish labor unions for negotiating with employers. When the labor unions are set up, these kinds of labor unions seem to be honest and follow all regulations of the labor unions. Simultaneously, leaders of labor unions usually devolve their power into their heirs. These descendant people always accept the superior power from the former supportive party. It could be said that the labor unions in the Eastern Region is not in accordance with Karl Marx’s theory. A contradiction between employers as creative powers and labor unions as productive powers is not effected on economic changes in lower-based construction in Eastern Region society. This also does not refer to any variable in upper-based society. In terms of culture, it is important to decrease any conflict in particular circumstances because working life cycle of employees usually influence by different cultural factors in order to dominate, refine, mould for avoiding any violence. The main target of working primarily deals with earning income and ignores any ideology. Thus, culture of labor unions in Eastern Region has a flexible and non-violent characteristic. From this reason, the study of labor unions does not neglect any cultural dimension.

Downloads