กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการข้ามผ่านแดนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
Keywords:
ความร่วมมือระหว่างประเทศ, คนเข้าเมือง, การเข้าเมืองและการออก, อาชญากรรมข้ามชาติAbstract
เนื่องจากในปลายปี พ.ศ. 2558 นี้ กำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน จะมีคนต่างชาติจำนวนมากเดินทางเข้าออกในภูมิภาค อาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคนี้ โดยจะมีทั้ง นักท่องเที่ยว นักลงทุน และผู้ใช้แรงงาน และคนต่างด้าวที่เดินทาง เข้าประเทศย่อมมีทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย ซึ่งจะเป็นที่มาของ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติได้ การศึกษามีวัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อจำกัดของกรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศในการข้ามผ่านแดนของประเทศในกลุ่มอาเซียนในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในรูปแบบของอาชญากรรมข้ามชาติ กฎหมาย คนเข้าเมืองของต่างประเทศและกรอบแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศใน การข้ามผ่านแดนของสหภาพยุโรปเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติมาปรับใช้ กับภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษาคือ กรอบข้อตกลงความความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ในรูปแบบของสนธิสัญญาร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในเรื่องการข้ามผ่านแดนโดยมีสาระสำคัญครอบคลุมเรื่อง การสืบสวน การสังเกตการณ์ข้ามพรมแดน ความร่วมมือ และดูแลร่วมกันในด้านระบบ สารสนเทศ และการแลกเปลี่ยนข้อมูล วิธีการและระยะเวลาในการเก็บรวบรวม แฟ้มข้อมูล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสามารถดำเนินการในด้านการ ควบคุมการข้ามผ่านแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อเป็นการป้องกัน อาชญากรรมข้ามชาติและเพื่อความมั่นคงของประเทศไทยและของภูมิภาค อาเซียน ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ ให้มีการจัดร่างปรับปรุงแก้ไขพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้Due to the fact that we are now stepping into the ASEAN Economic Community in the end of 2558, there would be large number of foreigners traveling in and out of the region, especially Thailand which is the transportation center in ASEAN community. As a result, there are two types of tourists, investors and workers as well as aliens traveling to Thailand which include entering the country legally and illegally. Thus, this critical situation will lead to the issues of transnational organized crime. The study aims to study limitations of international cooperation in cross-bordering of countries in ASEAN in respect of the offense in the form of transnational organized crime, law of immigration of foreign countries and the framework of international cooperation in cross-bordering EU in order to combat transnational organized crime. In fact, the aforesaid points will be adapted to be used in ASEAN The findings from this study are framework agreement for international cooperation between countries in the form of a treaty between countries in ASEAN in regard to cross-border which details cover investigation, cross-bordering investigation, cooperation and sharing of intelligence and information exchange as well as method and timing of data collection. By applying the aforementioned research details into the system and training, the immigration authorities can perform the control of illegal cross-bordering effectively and to prevent transnational organized crime as well as to ensure the stability of Thailand and ASEAN.Downloads
Issue
Section
Articles